Beer RSS

บทความนี้จะมีแต่เรื่องของเบียร์! เบียร์! และเบียร์! คอเบียร์ทั้งหลายห้ามพลาดเด็ดขาดเพราะเรามีเบียร์มากมายหลายชนิด หลายยี่ห้อที่จะมาแนะนำให้รู้จักกัน! เคยเป็นไหมอยากลองดื่มเบียร์ใหม่ๆดูบ้างแต่ก็งงเหลือเกิน ทำไมมันมีแต่คำศัพท์แปลกๆที่ไม่รู้จัก อะไรคือเบียร์ IPA เบียร์ Ale หรือ Lager ไหนจะเบียร์ดำอีก! เยอะแยะมากจริงๆ เพราะฉะนั้นบทความนี้จะยาวมากกก แต่เรารับประกันเลยว่าอ่านจบแล้วคุณจะยิ่งรักการดื่มเบียร์เข้าไปอีก! แหล่ง: http://xflow.pentair.com ส่วนประกอบหลักในการหมักเบียร์มี 4 อย่างคือ น้ำ มอลต์(ได้จากเมล็ดข้าวอบแห้งหรือคั่ว ส่วนมากใช้เมล็ดข้าวบาร์เลย์) ฮอพ (พืชชนิดหนึ่งมีคุณสมบัติเหมือนสารกันบูด ให้รสขมตัดกับรสของมอลต์ และกลิ่นเฉพาะตัวในแต่ละสายพันธุ์) และ ยีสต์ นอกจากนั้นผู้ผลิตรายต่างๆยังเพิ่มส่วนผสมอื่นอีก เพื่อเพิ่มกลิ่นและรสชาติ เช่นผลไม้ต่างๆ ธัญพืชเช่น เมล็ดข้าวสาลี ข้าวโพด แม้กระทั้งกาแฟและช็อคโกแลต! IPA'S - เบียร์เอล เบียร์ IPA ย่อมาจาก India Pale Ale เกิดจากที่สมัยก่อนชาวอังกฤษอยากขนเบียร์ไปอินเดีย แต่เบียร์ดันเสียระหว่างทางเพราะการเดินทางที่ค่อนข้างไกล เลยแก้ปัญหาด้วยการใส่พืชฮอพลงในเบียร์ให้เยอะมากกว่าปกติซึ่งช่วยรักษารสชาติของเบียร์ได้ ■1. PLINY THE ELDER เริ่มกันที่ยี่ห้อแรกกับ Pliny the elder ผลิตจากโรงงาน Russian River Brewing Co. ในเมืองซานตาโรซ่า รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็น Double IPA นั้นคือการใช้พืชฮอพมากกว่า 1 ชนิดผสมผสานได้ลงตัวกับมอลต์ บางคนบอกว่านี้เป็นหนึ่งในเบียร์ที่ดีที่สุดในสหรัฐ! จุดเด่นคือเมื่อคุณดื่มจะให้ความสดชื่นกับรสชาติที่ลงตัวของพืชฮอพ มอลต์ และผลไม้ตระกูลส้ม ลองแล้วจะติดใจจิบจนหมดแก้ว! แหล่ง: https://www.homebrewersassociation.org ■2. 60 MINUTE DOGFISH เบียร์ชื่อดังจากโรงงาน Dogfish Head Brewery รัฐเดลาแวร์ เป็นเบียร์ที่ใช้พืชฮอพมากกว่า 60 ชนิด และต้มนานถึง 60 นาที! และนั้นก็คือที่มาของชื่อเบียร์ยังไงล่ะ แหล่ง: http://www.digitalartscape.com ■3. BELL’S HOPSLAM ALE...

Read more

รู้หรือไม่ครับว่า เราสามารถดื่ม "ปีศาจ" (Devil) ได้   ไม่ผิดหรอกครับเพราะว่าผมกำลังจะดื่ม Duvel ซึ่งมันเป็นคำพื้นเมืองที่มีความหมายว่า "Devil" ซึ่งแปลว่า "ปีศาจ" นี่เอง เดิมเบียร์ตัวนี้ไม่ได้ชื่อว่า Duvel นะครับ หากแต่ชื่อว่า Victory Ale เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 ก่อนที่จะมาเปลี่ยนเป็น Duvel ในช่วงประมาณปี ค.ศ.1920 นี่เอง   เบียร์ตัวนี้เป็นเบียร์ที่นักชิมเบียร์ควรต้องศึกษาครับ   BJCP เลือกให้มันเป็นตัวอย่างของเบียร์ประเภท Belgian Golden Strong Ale   เรียกได้ว่า ถ้าอยากรู้จักเบียร์นี้ ก็หยิบ Duvel ขึ้นมาชิมได้เลยครับ ไม่ต้องคิด ข้อควรรู้ก่อนเท Duvel เป็นเบียร์ที่ขึ้นชื่อเรื่องคาร์บอเนชั่น และฟองที่มีอยู่ภายในครับ ดังนั้นถ้าหากเทเบียร์ไประวัง อาจจะทำให้ฟองมันเต็มล้นขึ้นมาก่อนที่จะเทเบียร์หมด แถมฟองมันยังอยู่ตัวคงนานด้วยสิ   การชิมเบียร์ตัวนี้ให้ได้อรรถรสต้องเริ่มจากการเทเบียร์ที่ถูกต้องครับ ในขั้นแรกจะต้องเอียงแก้วประมาณ 45 องศาแล้วค่อยๆเทเบียร์ลงไปให้เบียร์กระทบแก้วแบบนิ่มๆ และเมื่อพอถึงครึ่งแล้วแล้วค่อยๆตั้งแก้วขึ้น ก่อนที่จะเทเบียร์เพื่อให้เกิดฟอง   ฟองของเบียร์ตัวนี้จะตั้งตัว เนียนสวยเป็นครีมเชียว ถ้าหากว่าสงสัยว่าจะต้องเทอย่างไร ก็ดูคลิปประกอบด้านล่างก็แล้วกันครับ https://www.youtube.com/watch?v=Bzm4OirKzts เทเบียร์แล้ว หลังจากเทออกมาแล้ว สิ่งแรกที่ผมบอกกับเองคือ เนื้อเบียร์ดูใสมากกว่าที่คิดครับ ใสจนตอนแรกนึกว่าเทเบียร์ลาเกอร์ออกมา เนื้อเบียร์สีเหลืองทอง ส่องดูดีๆจะเห็นพรายฟองละเอียดๆผุดขึ้นมาจากก้นแก้ว ดูสวยงามมากครับ ฟองเบียร์เกาะตัวกันดีเป็นครีมและค่อนข้างอยู่ตัว ถึงเวลาชิม ถึงแม้ว่าจะได้ชื่อว่า Ale แต่ต้องยอมรับว่าเป็นเบียร์ที่ให้ความรู้สึก คลีน มากครับ   บอดีค่อนไปทางบาง นุ่ม ดื่มลื่นคอ   รสชาติของเบียร์ออกไปทางหวานท็อฟฟี่ น้ำผึ้งนิดๆ รสนี้น่าจะมาจากน้ำตาล ที่ใช้เป็นส่วนประกอบในการหมัก ความหวานนี้ไม่ได้หวานแหลมหวานโดด แต่เป็นความหวานนิดๆ น้อยๆ ตามมาด้วยรสหวานของมอลต์นิดนึง ก่อนที่จะจบด้วยรสขมของฮ็อปส์ กลิ่นที่ผมได้ขณะดื่มนั้น ค่อนข้างจะสดใสมีชีวิตชีวาเลยทีเดียวครับ เริ่มจากกลิ่นยีสต์น้อยๆ ตามมาด้วยกลิ่นหวานๆออกท็อฟฟี่ น้ำผึ้ง และมีกลิ่นคล้ายกลิ่นกล้วยออกมาด้วยนิดนึง เมื่อดื่มไปสักพักและเบียร์เริ่มอุ่นขึ้น สัมผัสของแอลกอฮออล์ก็เริ่มมาแล้วครับ สมกับที่แอลกอฮอลล์แรงถึง 8.5%   เมื่อกลืนเบียร์ลงไปสัมผัสได้ถึงความเร่าร้อนที่ผ่านปากและลำคอไปเลยทีเดียว ก่อนที่จะได้รับความหอมของแอลกอฮอลล์ที่ตีขึ้นมาอีกทีนึงเมื่อหายใจออก ความคิดเห็นโดยรวม เป็นเบียร์ที่ให้ได้ทั้งความดื่มง่ายลื่นคอคล้ายลาเกอร์ แต่ก็ไม่ทิ้งความซับซ้อนของกลิ่นและรสอย่างที่เอลควรจะมี   โดยส่วนตัวผมชอบเบียร์สไตล์ Tripel...

Read more

  หากคุณติดตามอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับเบียร์และหลงใหลการดื่มเบียร์แบบต่างๆ มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เราเชื่อว่าวันนี้คุณคงเข้าใจไม่มากก็น้อยว่าเบียร์แบบเอลกับเบียร์แบบลาเกอร์นั้นมีความแตกต่างกัน (แต่ถ้ายังไม่กระจ่างว่าต่างกันอย่างไร ก็ตามไปเก็บตกที่นี่ https://www.wishbeer.com/th/blog/let-s-learn-about-beer-n10) อย่างไรก็ตาม เราพบว่ายังคงมีความเบลอๆ อยู่เล็กน้อยท่ามกลางบรรดาคอเบียร์ทั่วไป ในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่าเบียร์ลาเกอร์และเบียร์พิลสเนอร์ และมักจะเป็นความงงที่ถูกซ่อนไว้ในใจไม่กล้าถามใครออกไป เพราะคำว่าพิลสเนอร์ก็ฟังดูคุ้นๆ คำว่าลาเกอร์ก็ได้ยินบ่อย และพอได้ลองดื่มเบียร์ทั้ง 2 แบบที่ว่ามา ก็รู้สึกว่ารสชาติดันเหมือนๆ กันไปเสียอีก หลายคนจึงเลือกที่จะเก็บความงงค้างคาใจวนไป   เบียร์ลาเกอร์ วันนี้เราจะพูดถึงเพียงสั้นๆ เท่านั้นว่า เบียร์ลาเกอร์นั้น เป็น 1 ใน 2 ประเภทเบียร์หลักของโลก ซึ่งอีกแบบหนึ่งก็ได้แก่ เบียร์แบบเอล (Ale) นั่นเอง โดยเบียร์ทั้ง 2 ชนิดนี้ เราแบ่งแยกด้วยประเภทของยีสต์ที่ใช้ คือเบียร์เอลใช้ยีสต์แบบที่ทำกระบวนการหมักขึ้นที่ปากถัง (ลอยบนผิวน้ำ) และลาเกอร์จะใช้ยีสต์ประเภทที่ขยันขันแข็งอยู่ก้นถังหมัก เบียร์เอลให้รสชาติที่ซับซ้อนและมีคุณลักษณะหลากหลายกว่า เช่น กลิ่นจำพวกผลไม้ ในขณะที่ลาเกอร์จะให้รสที่สดใสซาบซ่านและสะอาดคมกริบกว่าเมื่อเทียบกัน พิลสเนอร์คือ 1 ในประเภทอันหลากหลายของเบียร์ลาเกอร์ เบียร์ลาเกอร์นั้นเป็นประเภทของเบียร์ที่แบ่งหมวดหมู่ด้วยการระบุยีสต์ที่ใช้ (ซึ่งส่งผลต่อรายละเอียดการผลิตในส่วนอื่นๆ เช่น อุณหภูมิ ระยะเวลา และอื่นๆ ต่อไปด้วย) ดังนั้น ลาเกอร์จึงไม่ได้มีแต่แบบที่มีน้ำเบียร์สีทองใสและซ่าชื่นใจอย่างที่เราใช้เป็น “ภาพจำ” เมื่อกล่าวถึงเบียร์เท่านั้น แต่ยังมีแขนงแตกออกไปอีกเพียบ เช่น แอมเบอร์ แบบอเมริกัน, บ็อค, ดอปเปลบ็อค, พิลสเนอร์ แบบเช็ค, มาร์เซ่น/อ็อกโตเบอร์เฟสต์, เพลลาเกอร์ แบบอเมริกัน และ ไอเซ่นบ็อค เป็นต้น จากรายการที่ว่ามานี้ จะเห็นได้ว่า “พิลสเนอร์เป็น 1 ในเบียร์ลาเกอร์หลายๆ แบบ” ซึ่งมีทั้งสีอ่อนและเข้มจนดำ แต่พูดแบบนี้คงจะรวบรัดเกินไป เอาเป็นว่า เรามาดูกันว่าเมื่อพูดถึงเบียร์พิลสเนอร์คุณควรนึกถึงอะไร     พิลสเนอร์นั้นเป็น 1 ในเบียร์ลาเกอร์ที่ได้รับความนิยมที่สุดในโลก ถือกำเนิดขึ้นในสาธารณรัฐเช็คในสมัยที่ดินแดนบริเวณนั้นยังคงเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิฮังการีที่ใช้ภาษาเยอรมันในการสื่อสารอยู่ พิลสเนอร์มีเอกลักษณ์อย่างหนึ่งคือมีสีที่ค่อนข้างอ่อน ตั้งแต่สีฟางจางๆ ไปจนถึงสีทอง มีรสขาติที่สดชื่นและควรให้กลิ่นดอกฮอปส์สายพันธุ์ที่หอมคล้ายเครื่องเทศและดอกไม้อย่างหนักแน่น เบียร์พิลสเนอร์เองก็แตกยอดออกไปเป็นแบบย่อยหลากหลายอย่างอีกเช่นกัน ขึ้นอยู่กับเทคนิควิธีและรายละเอียดปลีกย่อยของผู้ผลิตในดินแดนแถบต่างๆ เป็นต้นว่า ดับเบิล/อิมพีเรียลพิลสเนอร์ แบบอเมริกัน, พิลสเนอร์แบบเช็คและพิลเนอร์แบบเยอรมัน  ...

Read more

เมื่อพูดถึงเบียร์เย็นเฉียบสักแก้วในช่วงบ่ายอันแสนอบอ้าวของประเทศไทย หลายคนคงนึกถึงภาพเบียร์ลาเกอร์เจ้าใหญ่ใส่น้ำแข็งล้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทำกันมานานจนกลายเป็นความปกติธรรมดาไปแล้ว (พึงทราบว่าคอเบียร์ในมุมอื่นของโลกเขาไม่ทำกันแบบนั้น) แต่มีอีกอย่างหนึ่งที่เย็นยะเยือกยิ่งไปกว่านั้นอีก นั่นคือ “เบียร์วุ้น”   วันนี้เรามาพูดถึงเรื่องเบียร์วุ้นกันเพราะเราสังเกตว่าพักหลังมานี้การดื่มเบียร์ที่เย็นจัดจนเป็นเกล็ดน้ำแข็งกำลังเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่คอเบียร์อเมริกัน จะว่าน่าแปลกใจก็ใช่ เพราะคนรักเบียร์จำนวนไม่น้อยต่างพากันดูถูกดูแคลนวิธีการดื่มเบียร์แบบนี้ว่าเป็นความผิดบาปต่อการดื่มเบียร์ เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าความเย็นนั้นจะกลบกลิ่นหอมๆ ของน้ำเบียร์ไปเสียหมด และสำหรับพวกเขาเหล่านั้นเบียร์วุ้นสุดเย็นก็คงไม่ต่างอะไรกับเครื่องดื่มสเลอร์ปี้แบบผู้ใหญ่ที่รสแปลกๆ แต่ในอีกมุมหนึ่ง จะว่าไม่เกินคาดก็ได้ เพราะว่าในโลกแห่งการผจญภัยอันแสนสนุกอย่างโลกของเบียร์นั้น เราก็เห็นมาหมดแล้วทั้งเบียร์ผสม เบียร์ที่ปรุงเป็นอาหาร เบียร์ที่อยู่ในรูปแบบไอศกรีม และแน่นอนว่าเบียร์ใส่น้ำแข็งล้นๆ! แล้วมันจะเป็นอะไรไปเสียล่ะ อากาศร้อนอบอ้าวแบบนี้ก็ชวนให้ลองเสี่ยงเล่นดูอยู่เหมือนกัน และสำหรับชาวประชาที่มักจะทดลองอะไรใหม่ๆ อยู่เรื่อย เราคงห้ามไม่ได้ แต่ส่วนตัวเราก็เห็นว่าวิธีนี้ยังดีเสียกว่านำเบียร์ไปใส่น้ำแข็งเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากใครอยากจะอุตริไปทดลองกับบรรดาคราฟต์เบียร์ทั้งหลายโดยไม่จำเป็น และบางทีอาจไม่ควรทำ (แต่เราไม่เถียงว่าผลลัพธ์อาจจะออกมาถูกปากถูกใจก็ได้นะ) เบียร์วุ้น หรือที่เดี๋ยวนี้ชาวโลกเรียกทับศัพท์ว่า Bia-Wun นั้น ได้รับการยอมรับจากชาวโลกว่ามีต้นตำรับอยู่ในประเทศไทยมาหลายสิบปีแล้ว อย่างที่เห็นได้ว่ามีร้านอาหารหลายแห่งให้บริการทำเบียร์วุ้นกันเป็นล่ำเป็นสันชนิดที่ว่าเกิดมาเพื่อเบียร์วุ้นและเบียร์วุ้นเท่านั้น และเราเชื่อเหลือเกินว่าไม่ว่าปัจจุบันคุณจะเป็นคอเบียร์สไตล์ใดก็ตาม หากคุณเริ่มต้นเข้าสู่โลกของเบียร์ในแดนสยามแห่งนี้แล้ว ย่อมต้องต้องเคยลองลิ้มความรู้สึกที่พิเศษแตกต่างของเจ้าเบียร์วุ้นนี้อย่างแน่นอน ชอบหรือไม่ค่อยว่ากันอีกที อย่างไรก็ตามจุดเปลี่ยนที่สำคัญก็คือ ในช่วงให้หลังมานี้มีร้านอาหารไทยระดับโลกหลายแห่งโดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาเริ่มนำเอา “วิถี” ดังกล่าวไปเผยแพร่อย่างมีสไตล์ ด้วยการใช้เครื่องไม้เครื่องมือที่ทำงานคล้ายกับเครื่องทำไอศกรีมหลอดอันสุดแสนคลาสสิก (เท่าที่เรารู้ วิธีการทำไอศกรีมหลอดนั้นมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 โน่นแล้ว และเราขอเดาว่าเบียร์วุ้นก็คงถือกำเนิดมาตั้งแต่สมัยแรกๆ ที่มีการทำเบียร์ขายในประเทศเราเลยล่ะ ก็ใครจะอดใจไหวจริงไหม?) และที่สำคัญคืออเมริกันชนจำนวนไม่น้อยก็ชื่นชอบมันเสียด้วยสิ กลายเป็นเรื่องฮือฮากันขึ้นมาไม่ใช่เล่น!   ขอออกตัวแรงๆ ไว้ตรงนี้ก่อนว่าเราไม่ได้บอกว่าคุณควรจะทำเบียร์วุ้นเดี๋ยวนี้ไม่อย่างนั้นจะเชยหรืออะไรทำนองนั้น แต่เรามาเล่าให้ฟังว่ามีคนชอบทำเบียร์วุ้นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน และความนิยมก็เริ่มแพร่ไปในสหรัฐอเมริกา ดังนั้นหากใครอยากจะลองทำดู เราก็ไม่ได้ว่าอะไร และหากอยากลองกับเบียร์อื่นๆ ที่ไม่ใช่บรรดาเบียร์ที่คุ้นหน้าคุ้นตาดูบ้าง เราแนะนำว่าให้เลือกเบียร์ที่แอลกอฮอล์ต่ำสักหน่อย จำพวกลาเกอร์หรือพิลสเนอร์ต่างๆ น่าจะดี แต่หากอยากลองอะไรแปลกใหม่ก็หยิบเซสชั่นไอพีเอมาลองทำดูได้นะ ไม่ลองก็ไม่รู้หรอก เพราะนอกจากจะสนุกดีที่ได้ลุ้นแล้ว ผลที่ได้อาจจะทำให้คุณติดใจไปยาวๆ หรือไม่ก็อำลากันไปในคราเดียว แต่ก็นั่นล่ะท่านผู้ดื่มทั้งหลาย เบียร์ยังมีให้ลองอีกมากมายสุดๆ ยังไงออกหัวหรือก้อยก็มาแบ่งปันกันด้วยนะ

Read more

Name : Lion Stout ABV : 8.8% Country : Sri Lanka Style : Stout Brewery : Lion Brewery ตอนแรกที่ได้เบียร์ขวดนี้มา บอกเลยว่า เป็นเบียร์ที่ก่อให้เกิดข้อสงสัยเป็นอย่างมาก เพราะสินค้าที่ขึ้นชื่อของประเทศศรีลังกาที่พวกเราเคยได้ยินกันมาคือ "ชาซีลอน" แต่หลังจากที่ดื่มเบียร์ตัวนี้แล้วผมบอกได้เลยว่า Lion Stout นั้น ได้กลายเป็นสินค้าขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของศรีลังกาไปเรียบร้อยแล้ว ลักษณะของเนื้อเบียร์ เบียร์ตัวนี้จัดว่าเป็นเบียร์ดำครับ สีของมันออกมาดำสนิท แถมทึบแสงอีกต่างหาก เมื่อนำมาส่องกับแสงไฟ ไม่สามารถส่องผ่านทะลุแก้วไปได้ ยืนยันความดำของมันจริงๆ... ฟองของเบียร์นั้น ออกไปทางสีน้ำตาลเรื่อยๆ มีความละเอียดปานกลางแต่ไม่ได้เนียนเป็นครีม พอที่จะคงรูปอยู่ได้แค่ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ลองแกว่งกับแก้วดูพบว่าเนื้อเบียร์ค่อนข้างจะข้นและหนืดกว่าเนื้อเบียร์ทั่วไปเล็กน้อย กลิ่น ตามปกติแล้ว เบียร์ในสไตล์ Stout จะต้องได้กลิ่นกาแฟเป็นหลัก แต่สำหรับเบียร์ตัวนี้ในขวดที่ผมชิมผมพบว่ากลิ่นกาแฟไม่ใช่กลิ่นแรกที่ผมได้พบครับ กลิ่นแรกที่ผมเจอนั้นผมได้กลิ่นออกไปทางหอมๆ หวานๆ ออกไปทาง ผลไม้ดำๆตากแห้ง น้ำตาลทรายแดง ในขณะที่มีกลิ่นเปรี้ยวนิดๆของผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ออกไปทางบลูเบอรี่ซ่อนอยู่... กลิ่นออกหอมขมๆของกาแฟนั้น ผมเจอเพียงจางๆเท่านั้น พร้อมกับกลิ่นควันน้อยๆที่มีอยู่ แต่ถ้าไม่สังเกตุอาจจะไม่เจอ... แต่หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อน เพื่อนบอกว่า "พี่ ผมว่ามันเหมือนกาแฟอเมริกาโนใส่ไซรัปนะ"... อืมม จริงด้วยแฮะ คือ กาแฟอเมริกาโน่ตามท้องตลาดมันมีกลิ่นออกเปรี้ยวๆ เบอร์รี่ เบอร์รี่ พร้อมกับยางๆ ควันๆ ตอนท้ายด้วยจริงๆ แล้วพอใส่ไซรัปแล้ว ได้อารมณ์ประมาณกาแฟตัวนี้เลยจริงๆ รสชาติ หวานครับ สัมผัสแรกที่ลิ้นได้รับรสคือ หวานเลย แต่เป็นความหวานที่หวานและหอมมาก เหมือนน้ำตาลทรายแดง ก่อนที่จะตามมาด้วยรสเปรี้ยวน้อยๆ ไม่ได้เปรี้ยวมาก และเมื่อกลืนเข้าไปก็จะจบแบบขมนิดๆ เหมือนรสกาแฟ... ตอนที่เรากลืนลงไปนั้นจะเป็นจังหวะที่เราได้ความขมและกลิ่นของกาแฟที่ชัดขึ้นมาช่วงนึงเลยครับ และกลิ่นของความขมในช่วงนี้ นอกจากจะได้กลิ่นกาแฟโผล่ขึ้นมาแล้ว เรายังได้กลิ่นประมาณช็อคโกแลตน้อยๆแถมเข้ามาอีก เนื้อสัมผัส ค่อนข้าง หนา เหนียว หนึบ นะครับ ถ้าหากว่าเทียบกับเบียร์ทั่วไปๆ บอดีของมันค่อนข้างข้นจนสามารถเคลือบแก้วให้มีสีออกน้ำตาลๆได้ดังรูปด้านล่าง  ​ความซ่านั้น จัดว่าเป็นเบียร์ที่มีคาร์บอเนชั่นอยู่ภายใน แต่ว่ามันไม่ได้ซ่ามาก เม็ดฟองไม่ได้ใหญ่แตกกระจายหากแต่ว่ามันเป็นฟองเล็กๆละเอียดๆเกาะอยู่ที่ลิ้น ถึงแม้ว่าแอลกอฮอลล์ของเบียร์ตัวนี้จะสูงถึง 8.8% แต่เอาจริงๆแล้ว ก็สามารถเก็บซ่อนความเผ็ดร้อนของแอลกอฮอลล์ได้ดีมากเลยครับ ในช่วงแรกแทบไม่รู้สึก แต่พอเบียร์เริ่มอุ่นขึ้น ก็มีออกมาให้หายคิดถึง ความคิดเห็นโดยรวม อร่อยครับ เป็น Stout ที่ผมว่ามีความซับซ้อน และดื่มสนุกตัวนึง ถ้าเทียบกับกินเนสแล้ว...

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.