Beer RSS

  ภาพจาก Getty   โลกของเบียร์นั้นไม่เคยหยุดนิ่ง และแม้ว่าหลายๆ อย่างจะดูไม่ค่อยเป็นใจ เบียร์ก็ยังคงรินไหลไปทั่วทุกมุมโลกมาเกือบตลอดช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ เบียร์จึงเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์แทบทุกๆ สังคม แม้อาจมีบ้างที่น้ำเบียร์แห้งเหือดไปตามความเข้มงวดเรื่องความเชื่อความศรัทธาบางอย่าง อย่างไรก็ตาม ในวันนี้เรามีเรื่องที่น่าสนใจและน่าประหลาดใจเล็กๆ น้อยๆ มาเล่าสู่กันฟัง เกี่ยวกับการเกิดขึ้นของเทศกาลเบียร์ในดินแดนที่ค่อนข้างปิดตัวเองจากโลกและดังนั้นจึงเต็มไปด้วยเรื่องเล่าอันลึกลับเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน นั่นก็คือสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่าเกาหลีเหนือนั่นเอง   ภาพจาก Getty     เมื่อวันศุกร์อันสงบสุขในช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2559 บรรดาคอเบียร์ทั่วโลกต้องหูกระดิกด้วยความสนอกสนใจว่านครเปียงยางกำลังคึกคักด้วยเบียร์เฟสติวัลหรือเทศกาลเบียร์แบบที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก! แม้นี่จะเป็นเทศกาลเบียร์ครั้งแรกและมีเบียร์เพียงเจ้าเดียวคือ “แตดงกัง” ซึ่งเป็นผู้ผลิตเบียร์ของภาครัฐ (แน่นอนล่ะ) เข้าร่วมมอบความสุขแก่ประชาชนตามคำมั่นสัญญาของท่านคิมจองอึนที่จะสร้างให้เกาหลีเหนือเป็น “อารยประเทศชั้นนำ” แต่งานครั้งนี้ก็เป็นอีกหนึ่งนิมิตหมายที่ดีว่าพวกเราชาวเบียร์ย่อมมีความหวังที่จะได้เห็นเครื่องดื่มอันเปรียบเหมือนของขวัญจากพระเจ้าชนิดนี้เติบโตและเบ่งบานต่อไป   ภาพจาก Getty     ทั้งนี้ควรกล่าวด้วยว่าเดิมทีในเกาหลีเหนือนั้น เบียร์ก็เป็นสิ่งที่ได้รับความนิยมอยู่ไม่น้อย“โดยเฉพาะในหมู่ชนชั้นนำ” บรูว์ผับเป็นสิ่งที่พบได้ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วไปในเมือง โดยเฉพาะตามร้านอาหารและโรงแรมที่พัก ที่นั่นมีการผลิตเบียร์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ลาเกอร์ (มักเป็นลาเกอร์แบบสตีมเบียร์ ซึ่งทำคล้ายลาเกอร์แต่หมักในอุณหภูมิที่ใช้กับเอล – เนื่องด้วยปัญหาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าของประเทศ) ไอพีเอ ไปจนถึงช็อคโกแลตพอร์เตอร์เลยทีเดียว งานเปียงยางเบียร์เฟสต์จึงได้รับความสนใจจากคนพื้นที่เป็นอย่างดี แหม่เขียนถึงประเด็นนี้ก็เกือบๆ จะเขียนไปอิจฉาไปอยู่เหมือนกันนะ!   ภาพจาก Wired     ในเทศกาลเบียร์แห่งเปียงยาง มีบรรดาบุคคลสำคัญๆ ในวงสังคมจำนวนราว 500 คนได้รับเชิญให้เข้าร่วมสนุกสนานไปกับเกม การแสดงดนตรี และเบียร์ฟรี J ในช่วงเปิดงานซึ่งกินระยะเวลาร่วม 2 ชั่วโมง ก่อนที่สาธารณชนและนักท่องเที่ยวจะได้รับเชิญให้เข้าไปร่วมสนุก(แต่แน่นอนว่าไม่ฟรีแล้ว) ในงานดังกล่าวนี้ เบียร์แตดงกังซึ่งตั้งชื่อตามแม่น้ำสายหลักของชาวเกาหลีเหนือได้ทำเบียร์สดแบตช์พิเศษออกมาถึง 7 สไตล์ไว้คอยบริการตลอด 20 วัน โดยมีบริกรสาวในชุดสีฟ้าขาวคอยดูแลอย่างใกล้ชิด (ดังนั้นถ้าคิดจะไปเที่ยวก็อย่าเมาเรื้อนล่ะ!) และงานก็จัดขึ้นอย่างสวยงามเรียบร้อยบนบริเวณท่าและร้านอาหารที่เป็นเรือซึ่งล่องอยู่ริมแม่น้ำแตดงนั่นเอง     ภาพจาก Paektuculturalexchange   เราทราบมาว่าผู้คนชื่นชอบเบียร์แตดงกังไม่ใช่เล่น และด้วยราคาสุดเย้ายวนใจที่ประมาณไพนท์ละ 15-40 บาทเท่านั้น! เบียร์ได้หมดไปอย่างรวดเร็วมากในวันแรกๆ ที่อุณหภูมิสูงถึง 34 องศาเซลเซียสโอ๊ย! ดูรวมๆ แล้วมีเสน่ห์เหลือเกิน  

Read more

เบียร์ประเภท IPA ที่วันนี้กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ชั่วโมงนี้ใครไม่รู้จักมีเชย! ภาพประกอบจาก straighttothepint.com นักดื่มเบียร์ทั้งหน้าใหม่หน้าเก่าจำนวนไม่น้อยในประเทศไทยที่หันมาสนใจในกระแสคราฟต์เบียร์ย่อมรู้จักคุ้นเคยเบียร์ชนิดนี้ไม่มากก็น้อย แต่สิ่งที่พบเจออยู่บ่อยครั้งตามผับบาร์ก็คือ ความจริงที่ว่ามีผู้คนอีกมากมายเหลือเกินที่ไม่รู้จัก ไม่กล้าลองและไม่เข้าใจเบียร์แบบนี้ จนถึงขั้นอุทานว่า “มันคืออะไร (วะ) เนี่ย!?” ด้วยความตกใจในรสชาติอันเข้มข้นของเบียร์ชนิดนี้ เราจึงต้องมาพูดถึงเบียร์ IPA โดยสังเขปกันอีกสักครั้ง ไม่แน่ว่าที่คุณคิดว่ารู้และเข้าใจ มันอาจมีอะไรที่ต่างออกไปอีกนิดหน่อยก็ได้นะ สาวๆ หลายคน (อะแฮ่ม!) ถามว่าเบียร์อิป้า (IPA) ที่ดื่มคือเบียร์อะไร บางคนที่ศึกษามาทางด้านภาษาศาสตร์ก็อดไม่ได้ที่จะนึกไปถึงเรื่องสัทอักษรสากล (International Phonetic Alphabet) ขึ้นมาโน่นเลย อันที่จริงเราควรเข้าใจให้ตรงกันเสียเดี๋ยวนี้เลยว่า “IPA” หรือ “ไอพีเอ” ในที่นี้ มีที่มาจาก อินเดียเพลเอล (India Pale Ale) และไม่ใช่อินเดียนเพลเอล (Indian Pale Ale) ภาพประกอบจาก blog.nassauinn.com เอาล่ะ! จำง่ายๆ ว่านี่คือเบียร์แบบที่แรกเริ่มเดิมทีถูกตีตราส่งออกไปยังประเทศอินเดีย ไม่ใช่เบียร์แบบฉบับดั้งเดิมของชาวชมพูทวีป และแน่นอนว่ามันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับชาวอเมริกันพื้นเมืองหรือที่คนไทยเรียกรวมๆ ว่าอินเดียนแดงเลยแม้แต่น้อย ไม่เลย! ในยุคแรกๆ เบียร์ชนิดนี้ถูกเรียกขานในหลายชื่อ เป็นต้นว่า pale ale as prepared for India, India ale, pale India ale และ pale export India ale ดังนั้นอย่างแรกที่เราต้องเข้าใจคือ ในสมัยแรกเริ่มนี่ก็คือ “เบียร์ตำรับส่งออก” นั่นเอง เบียร์ IPA ถูกผลิตขึ้นอย่างกว้างขวางในสหราชอาณาจักรระหว่างยุคสมัยแห่งการล่าอาณานิคม โดยเริ่มต้นมาจากเทคโนโลยีใหม่ที่ถือกำเนิดขึ้นในภาคพื้นทวีปยุโรปซึ่งทำให้นักต้มเบียร์สามารถผลิตเบียร์ที่มีสีอ่อนและมีกลิ่นรสจากการคั่วมอลต์ที่เบาบางลงได้ โดยเบียร์ชนิดนั้นเรียกกันว่าเพลเอล (Pale Ale) ซึ่งในเวลาต่อมาได้ต่อยอดไปเป็นเบียร์ประเภท October Beer ที่มีการใส่ดอกฮอปส์มากขึ้นและใช้การบ่มในถังอย่างยาวนาน การที่เบียร์แบบนี้ต้องอาศัยการเก็บบ่มนี่เอง ทำให้เบียร์ October จัดเป็นเบียร์เพลเอลชนิดส่งออกยุคแรกๆ ที่ไปได้สวยทีเดียวในแดนอาณานิคมหลักอย่างอินเดีย และในขณะเดียวกันแม้ในหมู่ชนชั้นศักดินาอังกฤษเองก็ชื่นชอบและนิยมต้มเก็บไว้ดื่มกันทุกปี ในช่วงเวลาแห่งการแข่งขันของบริษัทเบียร์ต่างๆ ที่ต้องการผลิตสินค้าของตนส่งออกไปขายยังทั่วโลก การเจริญเติบโตของเบียร์ IPA ก็เร่งเร้าขึ้นมาก การกีดกันทางการค้าในบางตลาดและการแข่งขันในอีกบางตลาดซึ่งก่อให้เกิดการมองหาช่องทางใหม่ๆ...

Read more

เบียร์แบ๊วแมวคิตตี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าตัวการ์ตูนชื่อดังที่อยู่คู่คอเบียร์อย่างเราท่านมาตั้งแต่หัดดื่มกาแฟใหม่ๆ (บางคนอาจยังไม่เกิดด้วยซ้ำ :D) อย่างเฮลโล่คิตตี้นั้นโด่งดังไปทั่วโลกและได้ไปปรากฏตัวอยู่บนของเล่นและของใช้แทบจะทุกอย่างมาโดยตลอดอยู่แล้ว และเมื่อบรรดาเพื่อนๆ ของคิตตี้เติบโตขึ้นทุกปี จนบางคนอาจเข้าขั้นวัยกลางคนไปแล้ว การขยับลุคเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่นิดหน่อย ก็คงจะเป็นอะไรที่น่าสนใจไม่น้อย บริษัทซานริโอ้ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คุณเหมียวเฮลโล่คิตตี้จึงได้จับมือกับผู้ผลิตเบียร์ของไต้หวันชื่อ Taiwan Tsing Beer Company เพื่อต้มเบียร์ป้าคิตตี้ออกมาให้รู้แล้วรู้รอด แต่ถึงแม้จะมีดีกรีความเมา เบียร์คิตตี้ก็ยังคงความน่ารักบ้องแบ๊วเอาไว้เต็มที่ โดยออกมาเป็นเบียร์ผลไม้รสต่างๆ เช่น พีชและกล้วย ส่วนระดับแอลกอฮอล์ก็เบาะๆ พอเหมาะกับจริตใสๆ ที่ 2.3-2.8% เท่านั้นเอง!! อะไรจะนุ่มนิ่มฟรุ้งฟริ้งปานนั้น         เบียร์จากกาแฟอุนจิช้าง เบียร์ที่ทำมาจากกาแฟงาดำ (Black Ivory นะไม่ใช่ Black Sesame!) อันโด่งดังจากกระบวนการผลิตที่คล้ายคลึงกับกาแฟขี้ชะมด แต่ใหญ่โตมโหฬารกว่าเพราะใช้ช้างทำ และเป็นช้างไทยเสียด้วย! เป็นเบียร์สเตาท์กาแฟที่ราคาแพงลิบด้วยราคาขวดละ 3,000 กว่าบาท (เอาน่า ลองนึกถึงช้างที่อดหลับอดนอนทำงานควบสองกะเพื่อเราท่านดูสิ) แต่กลับขายหมดเกลี้ยงไปในเวลาไม่กี่นาที บอกเลยว่าแล้วเขาก็ไม่ทำออกมาบ่อยๆ หรอกนะ ดังนั้นตอนนี้หากคุณอยากจะชิมเบียร์ตำรับเด็ดนี้ล่ะก็ คงต้องเริ่มจากไปที่ปางช้างแล้วล่ะ!       เบียร์จากยีสต์สุดอินดี้ ก่อนหน้านี้ผู้คนต่างพากันฮือฮากับเบียร์ที่ใช้ยีสต์จากเคราของบริวมาสเตอร์จากบริษัท Rougue กันไปแล้ว แต่มาปีนี้ความสุดยอดได้บังเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตเบียร์หน้าใหม่นามว่า Warsaw Startup Company ได้ตัดสินใจทำตามความฝันประเภท “จับเธอมาลงขวด” ดำเนินการกวาดยีสต์จากจุดซ่อนเร้นของนางแบบสาวสวยชาวสาธารณรัฐเช็คนำมาเป็นวัตถุดิบของเบียร์ The Order of Yoni เข้าจนได้ ดูเหมือนจะหวือหวาไม่ใช่เล่นใช่ไหมล่ะ แต่ท่าที่เห็นเราคิดว่าหลังจากนี้ไปบริษัทนี้น่าจะปล่อยเบียร์แนวอีโรติคลึกลับสยิวกิ้วแบบนี้ออกมาอีกหลายตัวเลยล่ะถ้าใจรักก็ขอเชิญรอชมแบบแนบชิดติดขอบเตียง!       เบียร์บรรจุขวดที่เก่าเก็บขั้นสุด เบียร์ที่ว่ากันว่าเก็บกันมาเป็นสิบปีก็ยังไม่เข้าใกล้ความยาวนานของเบียร์ขวดนี้ เพราะมันมีอายุอานามเกิน 200 ปีแล้ว! ย้อนกลับไปในปี 2011 ได้มีการกู้ซากเรือจากช่วงปี 1800 ที่จมอยู่ใต้ทะเลบอลติกในระดับความลึกกว่า 50 เมตรขึ้นมาพร้อมกับวัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ติดอยู่กับเรือ หนึ่งในของเหล่านั้นก็คือเหล้าเบียร์และแชมเปญนั่นเอง อย่างไรก็ดี เบียร์ที่กู้มาได้อย่างสมบูรณ์มีเพียง 5 ขวดเท่านั้น จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นับร้อยๆ ขวดที่ติดขึ้นมา และก็เป็นของหนึ่งในไม่กี่อย่างที่ไม่ทราบยี่ห้อแน่ชัดเสียด้วย แต่คงไม่เป็นอะไรมากนักเนื่องจากว่าท้ายที่สุดแล้วพวกเขาก็เปิดมันชิมดูและพบว่ามันเก่าอย่างแรง (อันที่จริงก็ไม่ค่อยแปลกใจนะ) และออกจะไม่อร่อยเสียแล้ว  ...

Read more

ปัจจุบันนอกจากกระแสของเบียร์นำเข้ายี่ห้อต่างๆที่ทั้งคราฟต์และไม่คราฟต์  ที่หลั่งไหลกันเข้ามาในบ้านเรามากมาย โดยหากนับตั้งแต่วันแรกๆ ก็มีร้าน Paulaner ในซอยสุขุมวิท 24 ซึ่งถือเป็นร้านเบียร์นำเข้าร้านแรกๆ ในเมืองไทย แต่กระแสตอบรับก็ไม่ได้ดีมากนัก อาจเป็นด้วยเพราะราคาที่สูงจนอยากที่จะเข้าถึง และสื่อที่จะทำให้คนรู้จักร้านมีเพียงแค่การบอกปากต่อปากเท่านั้น ทำให้ร้านเป็นที่รู้จักเพียงแค่กับกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆเท่านั้น  จนมาถึงในยุคของเบียร์ Hoegaarden ที่เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย จนถึงตอนนี้ก็ประมาณ 8 ปีเห็นจะได้ โดยในช่วง 4 ปีแรก ผลตอบรับก็เป็นไปในวงแคบๆ เช่นกัน แต่เพราะด้วยระบบการสื่อสารที่เรียกว่า Social Media ทำให้ความนิยมในเบียร์ตัวนี้แพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว จนเกิดปรากฏการณ์การถ่ายรูปคู่กับแก้วเบียร์เกิดขึ้น และก็เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้คนไทย “เปิดรับ” เบียร์จากต่างประเทศมากขึ้น                  ในช่วงประมาณ 6-7  ปีก่อน คนไทยมีโอกาสได้รู้จักกับเบียร์อิมพอร์ตมากยิ่งขึ้นทั้งจากเยอรมนีและเบลเยียม  โดยทั้ง 2 ชาตินี้เป็นเหมือนมหาอำนาจของวงการเบียร์โลกเก่า และในช่วงเวลาเดียวกันนั้นเองก็ได้เกิดอีกหนึ่งปรากฏการณ์สำคัญในบ้านเรานั้นก็คือ “ร้านเบียร์” นำโดยร้านเบียร์อย่าง HOBS และ BREW Beers & Ciders ที่เปิดร้านใจกลางย่านทองหล่อและนำเสนอเมนูเบียร์นำเข้ากว่า 100 แบบ ซึ่งในยุคนั้นถือว่าเป็นเรื่องใหม่มากของนักกินนักเที่ยวในเมืองไทย เนื่องจากแต่เดิมคนไทยคุ้นเคยแต่กับเบียร์พิลสเนอร์ สีเหลืองทอง ที่ต้องดื่มแบบเป็นวุ้นหรือใส่น้ำแข็งให้เย็นชื่นใจ หรือหากใครจะจัดหนักก็จะหันไปหาวิสกี้                     แต่แล้วเมื่อประมาณ 4 ปีก่อนได้เกิดอีกหนึ่งการเปลี่ยนแปลงสำคัญของวงการเบียร์อิมพอร์ตในบ้านเรานั้นก็คือการมาถึงของ “ROGUE” คราฟต์เบียร์ จากสหรัฐอเมริกา ที่เข้ามาเป็นอีกทางเลือกให้กับนักดื่มชาวไทย ซึ่งในตอนนั้นเองนักดื่มชาวไทยส่วนใหญ่ก็ยังคงคุ้นเคยกับรสชาติที่ดื่มง่ายๆ ของเบียร์เบลเยียมและเยอรมัน เราเองยังจำได้ว่าเราแปลกใจมากในรสชาติและกลิ่นของเบียร์อย่าง Dead Guy Ale ยังไม่ต้องพูดถึงกลิ่นหอมๆ และรสขมๆ ของ “ฮอปส์” ที่หากพูดคำนี้ในปัจจุบันก็คงไม่ใช่คำศัพท์ที่แปลกประหลาด แต่หากพูดคำนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน เรารับรองว่ามีคนน้อยถึงน้อยมากที่จะเข้าใจแต่ไม่นานเบียร์ดังระดับโลกอย่าง Brewdog  และ Mikkeller  ก็ตามเข้ามาในบ้านเราอย่างรวดเร็วทันใจ ถึงตอนนี้เรียกได้ว่าโลกของคราฟต์เบียร์ในเมืองไทยได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการ และในที่สุดกรุงเทพฯ ก็กลายเป็นเหมือนกับเมืองใหญ่ทั่วโลกที่มีความหลากหลายของเบียร์จากทั่วโลก แบบที่เรียกได้ว่าไม่น้อยหน้าใคร                       การเติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วง 3-4...

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.