Beer RSS

  ภาพจาก menshealth   ในฐานะหนึ่งในผู้นิยมดื่มเบียร์ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยคนหนึ่ง เรายอมรับเลยว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดเบียร์ในไทยโดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่ๆ นั้นคึกคักมากจริงๆ ราวกับว่าทุกสัปดาห์ที่ผ่านไปนั้นจะต้องเกิดความเคลื่อนไหวใหม่ที่น่าสนใจจากแวดวงของอุตสาหกรรมนี้อยู่เสมอ และนั่นทำให้เรามั่นใจได้เลยว่าพวกเราในฐานะคอเบียร์ที่ยังกระตือรือร้นในการเสาะแสวงและ “เสพเบียร์” อยู่ในยุคสมัยนี้ ต่างก็เป็นคนที่โชคดีเหลือเกินเมื่อเปรียบเทียบกับนักดื่มรุ่นลุงป้าน้าอาของเรา ที่สำคัญก็คือ เราเชื่อว่าแม้สภาวการณ์ที่เป็นอยู่ในปี 2559 นี้อาจนับว่าดีพอตัว แต่สิ่งต่างๆ ยังน่าจะดีได้มากขึ้นอีก และหนึ่งในข้อพิสูจน์ของความรู้สึกที่ว่านี้ก็คือ การถือกำเนิดขึ้นอย่างถูกต้องตามกฎหมายของคราฟต์เบียร์บรรจุขวดสัญชาติไทยที่มาจนถึงวันนี้ก็มีปรากฏอยู่ถึง 4 ยี่ห้อแล้ว หากเรานับแค่รายที่เกิดขึ้นและยังคงเดินทางไปกับความจริงเพื่อสิ่งสวยงามที่อยู่ในฝัน!(แฮ่ลองตามไปดูได้ที่ https://www.wishbeer.com/en/386-beer#/country-thailand) และหากว่าไม่ได้ใจร้อนกันจนเกินไปนัก เท่าที่เรารู้มานั้นอีกไม่นานเกินรอเราทุกคนคงได้มีโอกาสชมความงดงามหยดย้อยของยุคสมัยใหม่แห่งคราฟต์เบียร์ไทย ที่แม้อาจจะไม่เหมือนกับในอุดมคติมากมายนัก แต่การที่จะได้เห็นคราฟต์เบียร์สัญชาติไทยที่ผุดขึ้นจากก้นครัวหลังร้านสู่วงกว้างสัก10 เจ้า ก็คงไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมถึงแต่อย่างใด หรืออย่างน้อยเราก็มั่นใจได้ว่าไม่ว่าอย่างไรประเทศไทยก็จะมีร้านรวงผับบาร์ที่ต้มเบียร์อร่อยๆ และสดใหม่ไว้ให้บริการเกิดขึ้นอีกแน่นอน   ภาพจาก eventumgroup   วันนี้เราจะมาแนะนำเบียร์“เลือดไทย” ทั้ง 4 ยี่ห้อ ที่เพียรพยายามบากบั่นก้าวข้ามข้อจำกัดทั้งปวงอันสุดแสนจะมโหฬารมหาศาลของกฎระเบียบต่างๆ เกี่ยวกับการผลิตเบียร์ในประเทศไทยมาได้สำเร็จ และแม้ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงตั้งไข่ เราก็หวังสุดใจเลยว่าทุกรายจะพัฒนาจนเติบใหญ่ได้ต่อไป ฮูเร่!   เบียร์ภูเก็ต (Phuket Beer)   ภาพจาก hungry1072   เบียร์ภูเก็ตนั้นอยู่คู่กับนักดื่มมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว และทุกกันนี้ก็มีการวางขายในหลายประเทศทั่วโลกนอกจากในประเทศไทย ดังนั้นเราจึงอาจพบเจอเบียร์เจ้านี้ได้ค่อนข้างบ่อยกว่าบรรดาน้องใหม่ที่เพิ่งลืมตามองโลกและด้วยปัจจัยเกี่ยวกับขนาดและความเจริญเติบโตที่ว่านี้เอง หลายคนจึงมองว่าเบียร์ภูเก็ตไม่ควรถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ “คราฟต์เบียร์” เสียทีเดียว อย่างไรก็ตามก็ยังมีการถกเถียงจากอีกหลายคนเช่นกันในประเด็นนี้ เบียร์ภูเก็ตก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2545 โดยผลิตเป็นเบียร์ลาเกอร์ระดับพรีเมี่ยม(ในสไตล์ยุโรป)ซึ่งผลิตในจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับเบียร์ตลาดที่ขายกันโดยทั่วไปข้อโดดเด่นคือมีการใช้ข้าวหอมมะลิเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุดิบ และไม่มีการใช้วัตถุแต่งเติมอื่นหรือสารสังเคราะห์ในกระบวนการผลิตแต่อย่างใด ทั้งนี้ ความภาคภูมิใจประการหนึ่งของเบียร์เจ้านี้ก็คือการได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่องจากรายการ Monde Selection จนกระทั่งได้รับรางวัลพิเศษมาครองเลยทีเดียว   ภาพจาก liger beer   ด้วยระยะเวลากว่าทศวรรษนี้เอง เบียร์ภูเก็ตจึงได้ผ่านความเปลี่ยนแปลงต่างๆ มาหลายครั้งหลายหน ในปัจจุบันเบียร์ภูเก็ตผลิตขึ้นที่โรงเบียร์ซานมิเกลในไทยและอีกแห่งที่โรงเบียร์ในกัมพูชา ใช้สัญลักษณ์เป็นแหลมพรหมเทพและนกเงือก โดยมีวางขายทั้งในรูปแบบขวดและกระป๋องทั้งนี้ นอกจากเบียร์ภูเก็ตที่นับว่ายืนหยัดฝ่าพายุฝนมาได้พอสมควรแล้ว พวกเขาได้เริ่มปัดฝุ่นและผลักดันพัฒนาโครงการเบียร์อีกยี่ห้อหนึ่งเข้าสู่ตลาดและหลายคนก็อาจได้มีโอกาสลิ้มลองมาบ้างแล้ว นั่นก็คือเบียร์ไลเกอร์ ซึ่งเป็นสไตล์ดุงเคล (เบียร์แบบลาเกอร์ดำ) ที่ซ่อนรสคล้ายคาราเมล ดูเพิ่มที่ https://www.wishbeer.com/en/beer/1257-phuket-beer-330-ml-5.html เบียร์เชียงใหม่ (Chiang Mai Beer)   ภาพจาก...

Read more

ภาพจาก pinterest   เป็นเรื่องธรรมดาที่นักดื่มเบียร์จำนวนไม่น้อยจะมีแก้วเป็นของตัวเองหลายต่อหลายใบราวกับว่าเป็นนักสะสมเครื่องแก้ว ซึ่งในกรณีนี้เราพออนุมานได้ว่าคงมีอวดโฉมอยู่ในหลากรูปแบบ ขนาด สีสัน และวัสดุที่ใช้ผลิตถึงแม้เราจะได้ยินได้ฟังอยู่บ่อยครั้งว่าบรรดากูรูด้านการชิมเบียร์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแยกประสาทรับรู้ได้ยืนยันเป็นมั่นเป็นเหมาะว่าแก้วเบียร์ไม่ได้มีผลเปลี่ยนแปลงรสชาติเบียร์ (หรือถ้ามีก็ไม่ได้สลักสำคัญแต่อย่างใด) ทั้งนี้ทั้งนั้น ที่เราคิดว่านี่เป็นเรื่องปกติก็เพราะว่าสำหรับพวกเราผู้เสพสุนทรียภาพแห่งเบียร์อย่างธรรมดาสามัญแล้ว “ทุกสิ่งย่อมส่งผลลัพธ์บางประการ” และบ่อยครั้งเราพบว่าเราขณะที่จิบเบียร์ไป เราก็ดื่มด่ำผ่านสายตาและโสตประสาทของเราไปด้วย ดังนั้น แก้วเบียร์จึงสำคัญ ในครั้งนี้เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องราวของแก้วที่มีอายุอานามไม่เก่าแก่นักในประวัติศาสตร์ของการดื่มเบียร์ ทว่าสามารถก้าวขึ้นสู่ทำเนียบแก้วเบียร์คลาสสิกได้สำเร็จ และแม้ในปัจจุบันจะยังไม่ได้แพร่หลายออกไปมากเท่ากับแก้วคลาสสิกแบบอื่นๆ แต่ก็กล่าวได้อย่างไม่อ้อมค้อมเลยว่าแก้วเทกุเป็นหนึ่งในแก้วสุดโปรดของคอเบียร์จำนวนมากมายทั่วโลกไปเป็นที่เรียบร้อย   ภาพจาก newyorkfirst   แก้วเทกุเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นเอกด้านการออกแบบของชายผู้หลงใหลในวัฒนธรรมเบียร์อย่างสุดขั้วสองคน คือ นาย Matterino “Teo” Musso ผู้ก่อตั้งผับดนตรีสดซึ่งต่อมากลายเป็นโรงเบียร์ที่โด่งดังชื่อว่า Le Baladin และ นาย Lorenzo Dabove “Kuaska” ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเบียร์ระดับหัวแถวของประเทศอิตาลี โดยชื่อ “เทกุ” (เต-กู) นั้นก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาจากการผนวกเอาพยางค์แรกของชื่อเล่นของทั้งสองคนเข้าด้วยกันนั่นเอง(ดังจะเห็นได้จากวิธีสะกดว่า TeKu ไม่ใช่ Teku)แก้วเทกุได้ถูกผลิตขึ้นอย่างประณีตด้วยเทคโนโลยีการผลิตแก้วชั้นสูงจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมการผลิตแก้วที่ชื่อว่าRastal   ด้วยวิธีคิดที่ยึดโยงทั้งประโยชน์ใช้สอยของแก้วทรงดอกทิวลิปที่ช่วยขับเน้นเรื่องสีและกักเก็บกลิ่นของเบียร์เอาไว้ (เหมาะแก่การ “ยื่น” จมูกเข้าไป) มาผนวกกับรูปแบบร่วมสมัยที่เพิ่มเติมความโฉบเฉี่ยว(นอกจากเรื่องรูปลักษณ์แล้ว การดึงยืดก้านจับให้ยาวขึ้นยังช่วยน้ำเบียร์ห่างมือและนั่นหมายถึงการที่เบียร์สามารถคงอุณหภูมิเดิมเมื่อเสิร์ฟไว้ได้นานขึ้นด้วย)และลดทอนรายละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ อย่างเช่นลวดลายที่ไม่จำเป็นนักลง ส่งผลให้เราชื่นชมน้ำเบียร์ได้อย่างเด่นชัดสวยงามสำหรับเราแล้ว แก้วเทกุจึงเป็นวัตถุใช้สอยที่มีคุณค่าทางศิลปะอย่างลงตัว ซึ่งจะว่าไปก็ให้ความรู้สึกคล้ายคลึงกับชิ้นงานของห้องเสื้อแฟชั่นชื่อดังและรถสปอร์ตอิตาเลียนหลายรายการเป็นอย่างยิ่งดังนั้นเมื่อทราบว่าปัจจุบันแก้วเทกุได้รับการยกย่องให้เป็น “แก้วทางการ” ของอิตาลีสำหรับใช้ชิมคราฟต์เบียร์ เราจึงไม่ประหลาดใจนัก ขณะนี้แก้วเทกุได้จัดจำหน่ายอยู่ทั้งสิ้น 3 รุ่น ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อย (รุ่น 3.0 เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2015 ที่ผ่านมา) โดยมีให้เลือกใช้2 ขนาดด้วยกันคือ 425 มิลลิลิตร และ 330 มิลลิลิตร   เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับ Le Baladin   ภาพจาก mondobirra   ภาพจาก foodarounditaly   โรงเบียร์เลอ บาลาแดง ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 1986 ในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ Piozzo จังหวัด Cuneo ทางตอนเหนือของประเทศอิตาลี โดยในครั้งแรกสุดนั้นสถานที่แห่งนี้ยังเป็นผับดนตรีสดที่มีเบียร์จากทั่วทวีปยุโรปกว่า 200 ฉลากไว้บริการ...

Read more

ดื่มเบียร์ใครๆก็ดื่มเป็นแต่เรามักจะเห็นคอเบียร์ที่บอกว่าชอบดื่มเบียร์เป็นชีวิตจิตใจปฏิบัติผิดๆทุกครั้งที่ดื่มเบียร์มาตลอดเวลาแบบที่อธิบายก็ไม่เชื่อโดยเฉพาะ 5 ข้อนี้ซึ่งคุณก็อาจจะยังไม่รู้เช่นกัน  เชื่อเถอะว่าคุณจะได้เห็นคนรอบข้างดื่มเบียร์ผิดๆทุกครั้งเรียกว่าดื่มเบียร์เอาอิ่มมากกว่าที่จะดื่มด่ำกับรสชาติที่แท้จริงของเบียร์ความเชื่อผิดๆนี้ฝังรากลึกมาตั้งแต่รุ่นลุงรุ่นหลานวันนี้เราจะมาแก้ความเชื่อผิดๆอย่างน้อยก็ 5 ข้อเพื่อให้เข้าถึงรสชาติที่แท้จริงของการดื่มเบียร์มากขึ้น 1. คุณชอบดื่มเบียร์ด้วยแก้วเบียร์ที่แช่เย็นมากๆแต่มันเป็นตัวสร้างฟองมหาศาล นี่คือความเชื่อผิดๆข้อแรกที่ยิ่งใหญ่และเกือบทุกคนมักจะทำกันคือการถามหาแก้วเบียร์เย็นๆแบบน้ำแข็งเกาะแต่เหมือนบทความเรื่องการเทเบียร์ก่อนหน้านี้ที่เราเคยบอกไปแล้วว่าแก้วเบียร์ที่เย็นจัดจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของอนุภาคหรือเรียกว่าปฏิกิริยา Nucleation และผลที่ตามมาคือฟองฟองมหาศาลซึ่งทำลายรสชาติและกลิ่นหอมของเบียร์ให้หมดไปสิ้นซาก 2. คุณชอบดื่มเบียร์ที่แช่เย็นจัดๆแต่มันทำลายรสชาติเบียร์หมดสิ้น เบียร์ที่รสชาติดีที่สุดไม่ใช่เบียร์ที่แช่เย็นจัดๆเพราะนั่นทำลายรสชาติและกลิ่นหอมของเบียร์อย่างมากจริงๆแล้วการเสริฟเบียร์แต่ละประเภทจะมีอุณหภูมิที่ถูกต้องในการเสริฟต่างกันแต่โดยหลักแล้วเบียร์ควรจะถูกเสริฟที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้องแค่นิดหน่อยแต่สำหรับประเทศอากาศร้อนอย่างบ้านเราจะเสริฟที่อุณหภูมิต่ำลงไปอีกนิดก็ยังได้ 3. ห้ามให้เบียร์โดนแสงมันจะกลายเป็นเบียร์เหม็นสุดยอด ภาษาวิชาการเรียกกรณีนี้ว่า Skunked Beer เอาไว้ใช้เรียกเบียร์ที่โดนแสงเข้าถึงอย่างเช่นในแก้วใสเป็นต้นนี่เป็นเหตุผลที่ขวดเบียร์ทุกยี่ห้อมาในสีน้ำตาลเข้มแบบไม่ให้แสงส่องผ่านได้ Skunked Beer สามารถเกิดขึ้นได้ภายในไม่กี่นาทีที่เบียร์ปะทะแสงดังนั้นถ้าคุณไม่อยากดื่มเบียร์เหม็นแนะนำให้เลือกดื่มเบียร์ที่ไม่บรรจุในขวดใสรวมถึงการเก็บเบียร์ก็ต้องเก็บให้พ้นจากแสงเช่นกัน 4. เบียร์ไม่ใช่ไวน์ยิ่งเก็บไว้นานจะยิ่งไม่อร่อย บางคนอาจจะไปซื้อเบียร์เจ๋งๆมาจากต่างประเทศหรือได้เบียร์แปลกๆเป็นของฝากทำให้อยากจะเก็บมันเอาไว้ให้นานที่สุดแต่อย่างที่เราบอกว่าเบียร์ไม่ใช่ไวน์เพราะการหมักเบียร์จะมี hop เป็นส่วนผสมซึ่งเจ้า hop จะมีหน้าที่สร้างกลิ่นหอมที่แตกต่างกันแต่อายุของ hop นั้นสั้นนักยิ่งเก็บไว้นานๆกลิ่นก็จะจืดจางจนหมดไปในที่สุด คำแนะนำคือมีเบียร์อะไรเด็ดให้เปิดดื่มให้หมดตอนที่ยังรสชาติดีอยู่จะดีกว่าครับ 5. ไม่ต้องคิดมากเกินไปเกี่ยวกับเบียร์ที่ดื่ม สมัยนี้กระแส Craft beer หรือเบียร์ที่หมักด้วยมือในจำนวนน้อยหรือเรียกง่ายๆว่าหมักแบบบ้านๆกำลังดังทำให้หลายคนมีอาการเกร็งเวลาจะสั่งเบียร์ดื่มเบียร์เรียกว่าต้องดมต้องเขย่าต้องอมกว่าจะได้ดื่มด้วยความกลัวว่าคนจะมองว่าเป็นมือสมัครเล่นสิ่งที่เราอยากจะบอกก็คือดื่มๆไปเถอะครับตราบใดที่คุณเลิกทำ 4 ข้อด้านบนได้คุณไม่เสริฟเบียร์ในแก้วแช่นเย็นเจี๊ยบคุณไม่สั่งเบียร์วุ้นแค่นี้ก็ทำให้คุณดูเป็นมือโปรมากพอแล้วครับ เรียบเรียงข้อมูลจาก : THRILLIST

Read more

Schneider Weisse tap 5 เป็นเบียร์ในสไตล์ weizenbock  มาพร้อมกลิ่นแบบขนมผสมนมเปรี้ยว  กลิ่นค่อนข้างแน่น   ชัดเจน  กลิ่นยีสต์ค่อนข้างเยอะ   กลิ่นหวานผสมเปรี้ยวนิดๆ  ดมไปดมมานี่คล้ายนมเปรี้ยวพอควร  สรุปแล้วตัวนี้มาพร้อมกลิ่นแนวผลไม้   หวานผสมเปรี้ยว     ส่วนรสชาตินี่ต้องยกนิ้วให้   บอดี้มาแน่น  เน้นๆ เนื้อๆ    ยีสต์เยอะพอสมควร   รสชาติเข้มข้น  หวานผลไม้เต็มตัว  แต่คายกลิ่นแบบขนมปังออกมา  ตัวนี้มาแบบเบียร์โลกเก่ารสชาติคลาสสิค   คือไม่เน้นความ hoppy แต่เน้นความเข้มข้นของรสชาติ  ซึ่ง tap 5 มีให้เต็มๆ  ความหวานความหอม   รสผลไม้   คายกลิ่นขนมปัง กลิ่นหวานๆเคล้าคลอตลอดทาง   คนที่ชอบเบียร์เยอรมันแต่ให้รสชาติแบบเบียร์สายเบลเยี่ยมที่รสชาติเข้มข้น ชัดเจน    ตัวนี้เป็นเบียร์ที่คุณ"ต้อง"ดื่มสักครั้งในชีวิต    tap5 พกพาคุณสมบัติของเบียร์ที่ดีมาให้ครบถ้วน   กลิ่นแน่น-เข้ม    รสชาติเข้มข้น-หนักแน่น     กลืนแล้วคายกลิ่นชัดเจนตัวนี้ไม่ควรพลาดจริงๆครับ 

Read more

Beer, largely made from a mixture of water, hops, barley and yeast, is widely considered to be one of the most popular drinks on the planet. In 2010, the consumption per capita of Beer in the US was 78.2 liters, and this trend continues to grow. While beer is popular, the way it’s made still mystifies and enchants. In this week’s article we will cover the basics of the brewing process, so you can have a better understanding of the libation you consume on a regular basis. Before we briefly look into these steps, here’s a definition and brief history...

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.