Beer RSS
สุขสันต์เบียร์ใหม่! แฮปปี้นิวเบียร์ไงจะใครล่ะ
ย้อนกลับไปในปีพุทธศักราช 2555 ชายผู้รักการดื่มเบียร์คนหนึ่งนามว่า “คุณจูน” ได้เปิดร้านคราฟต์เบียร์แห่งแรกขึ้นในเขาใหญ่ ก่อนที่ในเวลาต่อมาเขาจะเริ่มมีความรู้สึกว่าเบียร์นำเข้าจากต่างแดนนั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงสำหรับผู้คนในละแวกนั้น จึงได้ริเริ่มที่จะทำเบียร์เองในแบบฉบับโฮมบรูว์ซึ่งก็ได้รับเสียงชื่นชมไม่น้อยจากผู้คนในวงการทำเบียร์ถึงความเอร็ดอร่อย เบียร์ที่มอบความสุขแก่ผู้คนของคุณจูนจึงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างและใช้เวลาบ่มเพราะตัวเองภายใต้ยี่ห้อ “Happy New Beer” มานับแต่นั้น Happy New Beer หรือที่บางคนเรียกขานเล่นๆ ตามสัญลักษณ์ว่า “เบียร์น้า/ลุงหนวด” นั้น โดดเด่นด้วยการใช้วัตถุดิบในท้องถิ่นและเป็นที่กล่าวขวัญกันมากถึงการใช้น้ำแร่จากในพื้นที่ ประกอบกับฝีไม้ลายมือในการทำเบียร์ที่เด่นในด้านการใช้ดอกฮอปส์ คอคราฟต์เบียร์จึงติดอกติดใจกันมากและบอกต่อกันปากต่อปาก ทำให้ในวันนี้ Happy New Beer ที่เริ่มต้นทำเบียร์ด้วยกำลังผลิตคราวละ 5 ลิตร ได้สามารถก้าวผ่านไปสู่การเดินทางออกไปผลิตในระดับที่จริงจังยังต่างแดนและนำเข้ากลับมาวางจำหน่ายเป็นคราฟต์เบียร์ไทยอีกหนึ่งยี่ห้อในปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อย ที่พิเศษก็คือ ในการออกเดินทางครั้งนี้ คุณจูนได้ไปผลิตเบียร์มาจากสองแหล่งด้วยกัน คือ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย โดยเบียร์ที่สร้างสรรค์ขึ้นที่ญี่ปุ่นนั้น มีชื่อว่า Six Post Meridiem หรือ 6 PM (หกโมงเย็น) นั่นเอง เบียร์หกโมงเย็นที่ว่านี้เผยโฉมด้วย 2 ฉลากแรก คือ 1) Pale Ale เบียร์เพลเอลสีอำพันที่หอมสดชื่นด้วยกลิ่นคล้ายผลไม้เขตร้อน ดื่มง่ายไม่ขมนัก และ 2) Wit วิทเบียร์สไตล์เบลเยียมที่ดื่มสบายๆ หอมคล้ายเปลือกส้มและเมล็ดผักชีบางๆ ทั้ง 2 ฉลากนี้ เป็นคราฟต์เบียร์พันธุ์แท้ที่ผลิตมาในจำนวนจำกัดมาก ไม่ผ่านการกรองและใช้กรรมวิธีธรรมชาติในการสร้างความซ่า ส่วนผลงานเด็ดที่ข้ามเกาะไปผลิตยังออสเตรเลียนั้น แน่นอนว่ามาในชื่อ Happy New Beer นั่นเอง โดยเปิดตัวด้วยเบียร์ IPA จากสูตรต้นตำรับของเขาเอง น่าลองชิมสุดๆ ขนาดนี้ ทางเราบอกได้เพียงแค่ว่า ติดตามไว้อย่าให้คลาดสายตา! พลาดหมดจะอดดื่มนะ
Our Favorites: Top 10 IPAs
เบียร์ “ลำซิ่ง” มาแล้ว เป็นตาออนซอนแท้!
ไม่นานมานี้คอเบียร์หลายคนคงได้เคยมีโอกาสลิ้มลองฝีไม้ลายมือของเบียร์ Stone Head กันมาแล้ว ในวันนี้“คุณฟาง”หนึ่งในผู้ก่อตั้งคนสำคัญก็ได้กลับมาพร้อมกับอีก 1 แบรนด์ ซึ่งเป็นผลงานชุดใหม่คือ “เบียร์ลำซิ่ง” และพวกเราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขามาแบบสดๆ ร้อนๆ กำลังอร่อยเลยล่ะ ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ที่คุณฟางสละเวลาอันมีค่าให้กับพวกเราทุกคน ขอเชิญทุกท่านติดตามได้เลย ความเคลื่อนไหว 1 ปีที่ผ่านมา มันเป็นระยะของคนทำคราฟต์เบียร์ไทยผิดกฎหมายที่อยากให้ประชาชนหรือผู้บริโภคทราบว่ามีคราฟต์เบียร์อยู่บนโลกนี้ และคนไทยก็ทำได้ด้วย อันที่จริงก็เป็น 3 ปีแรกเลย ตั้งแต่ที่เริ่มมีคนทำคราฟต์เบียร์ขึ้นครั้งแรกในไทย ซึ่งก็คือพี่ชิต(ชิตเบียร์) จากนั้นก็มีแนวร่วมขึ้นเรื่อยๆ และผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น จนวันหนึ่งที่ตัดสินใจออกจากงานเพื่อมาทำ Stone Head ที่กัมพูชาเพื่อจะเพิ่มคราฟต์เบียร์ในไทย และวางแผนให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นเพราะตอนนั้นก็ถูกกฎหมายแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อ Stone Head เปิดขึ้นมา กลับต้องใช้เวลามากกว่าที่คิดในการจะใช้โรงต้มนี้ผลิตเบียร์ให้เจ้าอื่นๆ ผมจึงเลือกใช้วิธีการใหม่ คือพาหลายๆ แบรนด์ไปผลิตที่ต่างประเทศในโรงเบียร์ที่เป็นมืออาชีพและก็ใช้โมเดลเดียวกัน คือผลิตและนำเข้าในนามเบียร์คนไทย ตอนนี้พวกเราก็รวมตัวกันได้ 3 แบรนด์ คือ Sandport, มหานคร และลำซิ่ง ในกลุ่มชื่อ “ขบวนการเสรีเบียร์” ทีนี้ผมมองว่าในระยะที่เรามาถึงตอนนี้เริ่มมีคนฟังเราแล้ว เราจะเริ่มอธิบายว่า “เราทำเพื่ออะไร” “ทำไมเราจึงต้องทำให้คราฟต์เบียร์ไทยถูกกฎหมาย” สำหรับเรื่องนี้ผมมองว่าการห้ามทำคราฟต์เบียร์เป็น 1 ในสัญลักษณ์ของอะไรบางอย่างที่ทำให้ประเทศเราไม่พัฒนาไปข้างหน้า คือมีกฎแปลกๆ ที่ไม่มีคำตอบและไม่มีใครรับฟังเรา ไม่มีใครพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นในทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย คือมีการห้ามผลิตเบียร์บรรจุภาชนะไปจำหน่ายที่อื่นเป็นการทั่วไปในสเกลเล็ก ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นสามารถทำได้ สิ่งนี้เองเป็น 1 ในสัญลักษณ์ที่ผมคิดว่าควรจะถูกตั้งคำถาม เพราะเบียร์เป็นสินค้าที่มีคนบริโภคเยอะ ผมเชื่อว่าก็น่าจะแปลว่ามีคนฟังเยอะ นี่เป็นที่มาของขบวนการเสรีเบียร์ สำหรับ “ลำซิ่ง” นั้น เราทำขึ้นมาเพื่อให้ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่ากระบวนการที่จ้างคนอื่นผลิต แบบที่เราเอาสูตรไปและควบคุมการผลิตเองนั้นต้องเผชิญกับอะไรบ้าง เราจะได้เอาข้อมูลเหล่านี้มาถ่ายทอดแบ่งให้กับแบรนด์อื่นๆ ที่อยากมีเบียร์ของตัวเองที่ถูกกฎหมาย โดยตัวแบรนด์ลำซิ่งนี้ผมอยากทดลองอะไรใหม่ๆ เพราะว่าแบรนด์แรก (Stone Head) ก็ใช้ชื่อภาษาอังกฤษและเป็นเบียร์ที่ไม่ได้หลุดกรอบมากนัก ตอนนี้ผมก็อยากผลักดันเบียร์ที่ใช้ชื่อไทยและเป็นเบียร์ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนเท่าที่ผมเห็นมา ไอเดียหนึ่งที่ได้มาตอนไปออกบูธที่สิงคโปร์ก็คือรีวิวที่ลูกค้าคนหนึ่งบอกว่าเบียร์แบบนี้เหมือนเบียร์ค็อกเทล ซึ่งผมคิดว่าเป็นนิยามที่ใช้ได้เลยคือเราใช้แนวทางแบบเครื่องดื่มค็อกเทลคือมีหลายๆ อย่างรวมกัน แต่ยังให้อยู่บนพื้นฐานของน้ำเบียร์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจขึ้น โดยที่ยังรักษามาตรฐานความเป็นเบียร์ไว้ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจนกลายเป็นเบียร์เติมน้ำเชื่อมหรือปรุงแต่งไปจนพัง คือยังพูดได้อย่างภูมิใจว่าเป็นคราฟต์เบียร์อยู่ เราอยากทดลองแนวคิดหลายๆ อย่างกับแบรนด์นี้ครับ ขบวนการเสรีเบียร์ เริ่มต้นมาจากสภาวะที่ว่าเหล้าเบียร์ทุกอย่างถูกจำกัดควบคุม เช่น การเก็บภาษีสูงมาก การห้ามโฆษณาและอีกหลายอย่าง ทั้งที่วิทยาศาสตร์ก็บอกอยู่แล้วว่าการบริโภคแต่พอดีนั้นไม่เป็นอันตราย...
ผู้ผลิตคราฟท์เบียร์ไทย
คราฟท์เบียร์ไทย Stone Head Thai Craft Beer Discover Stone Head Beers HERE. Beers Available: Koh Kong Pale Ale (5.5%) Butterfly Peat Wheat (6%) 7 Days Witbier (5.5%) Tire Burning Weizen (6%) Full Moon Brewworks Beers Available: Chalawan Pale Ale (4.7%) Chatri IPA (5.2%) Chiang Mai Beer Beers Available: Chiang Mai Beer Weizen (5%) Chiang Mai Beer Red Truck IPA (5%)
Welcome to Thai Craft Beer World (ตอนที่ 3)
วันนี้เราขอพาเพื่อนๆไปรู้จักกับคราฟต์เบียร์ไทยอีก 4 เจ้าที่แต่ละเจ้านั้นมีฝีไม้ลายมือไม่ธรรมดา เรียกว่าแต่ละเจ้านั้นหาตัวจับยาก เพราะด้วยประสบการณ์การต้มเบียร์ที่สะสมมาเป็นเวลากว่า 2 ปี และความทุ่มเทใส่ใจของแต่ละเจ้าทำให้ผลงานที่ออกมานั้นเป็นที่ยอมรับของนักดื่มได้ไม่ยาก SOI BEER หลายคนอาจจะเคยเห็นเบียร์สีชมพูและสีม่วง รวมไปถึงเบียร์สเตาท์ที่มีส่วนผสมของถั่วดำ ไม่ต้องแปลกใจครับ เพราะนั้นคือผลผลิตของ SOI BEER ทีมต้มที่มีมือต้มหลัก “คุณสลิ่ม” ซึ่งมีความรู้เชิงลึกในเรื่องของสมุนไพรและยาแผนโบราณ โดยในการผลิตเบียร์แต่ละสูตรนั้นมักนำเอาความรู้ด้านสมุนไพรมาปรับใช้ด้วย ทำให้มีเบียร์สูตรแปลกใหม่ออกมาเสมอๆ ถือเป็นอีกค่ายที่น่าสนใจและน่าลองเป็นอย่างยิ่ง Devanom ผู้ผลิตเบียร์อีกหนึ่งเจ้าที่ผลิตเบียร์ด้วยความพิถีพิถันอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้วัตถุดิบและขั้นตอนการผลิต ทำให้เบียร์จากค่ายนี้มีรสชาติที่โดดเด่น โดยค่ายนี้จะเด่นในเรื่องของการผลิตเบียร์ที่มีส่วนผสมของฮอปส์เด่นชัด แต่ก็มีความลงตัวในการสร้างสมดุลเบียร์ แต่เบียร์ค่ายนี้อาจจะหาดื่มยากเอาซักหน่อย เพราะทางผู้ผลิตไม่นิยมทำแบบขวดโดยให้เหตุผลว่าการผลิตแบบขวดควบคุมคุณภาพได้ยากกว่าและอาจเกิดการปนเปื้อนได้ในระหว่างขั้นตอนการบรรจุ แต่ก็เคยสร้างปรากฏการณ์ที่สั่นสะเทือนวงการคราฟต์เบียร์ไทย โดยการผลิตคราฟต์เบียร์ไทยแบบกระป๋องเป็นครั้งแรก และยังบรรจุดอกฮอปส์สดลงไปในกระป๋องอีกด้วย Ducky Fly หากเอยชื่อ Ducky Fly เพื่อนๆหลายคนอาจนึกไม่ออกว่าเป็นเบียร์จากค่ายไหน แต่ถ้าบอกว่าค่าย “เป็ดบิน” เชื่อว่าหลายๆคนคงร้องอ๋อ เพราะค่ายนี้เคยสร้างชื่อเสียงไว้เมื่อครั้งที่มีงานประกวดคราฟต์เบียร์ที่ร้าน Niche Beerville โดย Ducky Fly คว้าตำแหน่งที่ 1 ของสายเบียร์ดำไปครองได้อย่างสวยงาม และหลังจากนั้นก็มีผลงานออกมาให้นักดื่มได้ชิมอยู่บ่อยครั้งมากขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งค่ายที่มีความคงเส้นคงวาในเรื่องของรสชาติและคุณภาพ Jo+ Beer DJ หนุ่มจากเมืองเชียงคาน ที่หันมาเอาดีด้านการปรุงเบียร์ โดย Jo+ Beer ถือเป็นไทยคราฟต์เบียร์ยุคแรกๆอีกเจ้าที่ยังคงผลิตเบียร์ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ โดยเบียร์ตัวเด่นของค่ายนี้คือ Wheat 90’s HIT ที่มีส่วนผสมของ “มะแขว่น” พืชสมุนไพรพื้นเมืองภาคเหนือที่มีกลิ่นและรสเป็นเอกลักษณ์ และค่ายนี้ยังมีความพิเศษโดยการเปิดเพลงให้เบียร์ฟังตลอดช่วงการหมักอีกด้วย จนเป็นที่มาของสโลแกน “เบียร์ดีเพลงดีหัวใจจะดี”