Beer RSS

  ภาพจาก facebook.com/devafarmcafe   ภาพจาก facebook.com/devafarmcafe   ช่วงนี้เมืองไทยมีอะไรใหม่ๆ มากระตุ้นแรงบันดาลใจของพวกเราชาวเบียร์เยอะจริงๆ ไม่ว่าจะบรรดาคราฟต์เบียร์ไทยที่ออกไปทำกันในต่างแดนและทยอยกลับเข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายร้านเบียร์ใหม่ๆ พร้อมเบียร์แบรนด์ดังมากหน้าหลายตาจากทุกมุมโลกที่หลั่งไหลเข้าสู่บ้านเรา รวมไปถึงเรื่องที่เราจะพูดถึงกันในวันนี้ด้วย เรื่องฮอปส์! บางคนอาจยังสงสัยว่าฮอปส์คืออะไร และบางคนที่พอทราบมาบ้างก็ยังอาจไม่ได้ยินข่าวคราวเกี่ยวกับความสำเร็จในการเพาะปลูกฮอปส์ในระดับโรงเรือนของ Deva Farm ซึ่งเกิดขึ้นโดยน้ำมือของนักพัฒนาซอฟต์แวร์คนหนึ่ง ที่ทลายขีดจำกัดของดินฟ้าอากาศเมืองไทยได้โดยอาศัยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ที่สั่งสมมา จนพ่อแม่พี่น้องในวงการคราฟต์เบียร์และวงการเกษตรต้องอึ้งและทึ่งอย่างยินดีไปตามๆ กัน   ภาพจาก beerandbrewing   ฮอปส์คืออะไร? กล่าวโดยรวบรัด ฮอปส์เป็นพืชเถาไม้เลื้อยชนิดหนึ่งซึ่งเราใช้ดอกมาเป็นส่วนผสมหลักของเบียร์ ซึ่งได้แก่ น้ำ มอลต์ ยีสต์ และดอกฮอปส์ ภาพจาก cheahabrewingcompany   ในอดีตนั้นฮอปส์ถูกนำไปใช้เป็นยา เครื่องดื่มและอาหารหลายชนิด แต่ในปัจจุบันฮอปส์ที่เพาะปลูกกันเกือบทั้งหมดในโลกได้ถูกใช้ไปเพื่อการผลิตเบียร์ ทั้งนี้แม้ว่าในช่วงแรกที่ดอกฮอปส์เริ่มถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในวัตถุดิบสำหรับผลิตเบียร์นั้น วัตถุประสงค์ของมันก็มีเพียงเพื่อการปรุงรสขมและการยืดอายุของน้ำเบียร์เป็นหลักเนื่องจากฮอปส์มีคุณสมบัติที่ดีในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย แต่ทุกวันนี้ฮอปส์ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากมายและรับหน้าที่สำคัญยิ่งอีกประการ นั่นคือการแต่งกลิ่นหอมหวนในรูปแบบต่างๆ ให้กับเบียร์ ภาพจาก hrgrowler   ที่ผ่านมาแม้ว่าฮอปส์จะเป็นพืชที่ปลูกขึ้นได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก แต่แหล่งปลูกฮอปส์ที่สำคัญอันดับต้นๆ นั้นมีอยู่ 5 แห่ง คือ 1. เขตฮาเลอร์ทัวร์ในเยอรมนี 2. หุบเขาวิลาแมทท์ในรัฐโอเรกอน 3. หุบเขายาคิมาในรัฐวอชิงตัน 4. จังหวัดแคนยอนตะวันตกและเมืองใกล้เคียงในรัฐไอดาโฮและ 5. เมืองเคนท์ในสหราชอาณาจักร ในประเทศไทยเองก็มีความพยายามเพาะปลูกฮอปส์อยู่ประปรายและก็เกิดผลสำเร็จบ้างบางครั้งคราวหากแต่ยังขาดความต่อเนื่อง ทำให้ที่ผ่านมาเราไม่เคยได้เห็นฮอปส์จากลมฟ้าอากาศของเมืองไทยกันจริงๆ เสียที แต่ในวันนี้สิ่งนั้นได้เกิดขึ้นแล้วที่ Deva Farm ผลงานของคุณอ๊อบ ณัฐชัย (ผู้ทำคราฟต์เบียร์นามว่า Devanom หรือ “เทพนม” นั่นเอง)   Deva Farm ภาพจาก bk.asia-city | asia city media group   ฟาร์มฮอปส์แห่งแรกในประเทศไทย และสวนผักผลไม้ไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอปากเกร็ดของจังหวัดนนทบุรีคือผลงานที่น่าภาคภูมิใจของคุณอ๊อบ ผู้ผันตัวเองมาจากวงการซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์และแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือที่เขาคลุกคลีมานับสิบปี เพื่อเข้าสู่การเป็นเกษตรกรยุคใหม่อย่างเต็มตัว แรกๆ นั้นเขาเริ่มจากการปลูกผักผลไม้หลายชนิดด้วยเทคนิคการเพาะปลูกแบบไม่ใช้ดิน (ไฮโดรฯ) เพื่อรับประทานเอง ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศ แตงกวา...

Read more

เบียร์แซนด์พอร์ตเป็นหนึ่งในคราฟต์เบียร์ขวัญใจมหาชนมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกที่ได้ร่วมผลักดันวงการคราฟต์เบียร์ไทย และในปัจจุบันได้ร่วมวงพันธมิตรกับขบวนการเสรีเบียร์ (Thai Craft Beer Liberation) ซึ่งมีเบียร์ลำซิ่งและเบียร์มหานครเป็นอีกสองหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนให้คราฟต์เบียร์ไทยสามารถมีตัวตนได้อย่างถูกกฎหมาย     “เบียร์แซนด์พอร์ต”ซึ่งแปลงชื่อเสียงเรียงนามอย่างมีอารมณ์ขันมาจากคำไทยว่า “ท่าทราย” ตำบลที่เป็นถิ่นฐานของบรรดาแกนหลักของแบรนด์นั้นได้เริ่มต้นเรื่องราวขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อนเช่นเดียวกับคราฟต์เบียร์ไทยอีกหลายเจ้า โดยมีคุณตูนเป็นหัวเรือของโครงการที่พากันตั้งมั่นว่าจะเป็น “พันธมิตรแห่งเบียร์” (The Fellowship of Beer) ซึ่งมีความเชื่อว่าเบียร์สามารถนำสันติภาพมาสู่มนุษยชาติได้!ผลงานเบียร์ของพวกเขามีชื่อเสียงมากทั้งในหมู่คอคราฟต์เบียร์ไทยและบรรดาศิลปินร่วมสมัยแขนงต่างๆ จุดนี้อาจเนื่องมาจากพวกเขาผลิตเบียร์ที่แตกต่างด้วยการเลือกใช้วัตถุดิบของท้องถิ่นไทยมาทำเบียร์ แต่มีรสชาติที่เข้าใจง่าย ในขณะเดียวกันก็มีคุณภาพดีเยี่ยมและฉลากสวยงามมีเสน่ห์ ดังนั้นจึงเป็นอีกหนึ่งยี่ห้อที่ “ออกงานบ่อย” พอสมควรเลยทีเดียว     คุณตูนและทีมงานได้นำพาเบียร์แซนด์พอร์ตให้เติบโตและยืนหยัดมาได้อย่างงดงาม กระทั่งมีผู้หลงใหลในเบียร์ยี่ห้อนี้จำนวนไม่น้อยที่ตั้งหน้าตั้งตาคอยวันที่แซนด์พอร์ตจะได้ผลิบานสู่ตลาดเบียร์ไทยอย่างเต็มภาคภูมิ และในวันนี้พวกเขาก็ทำได้สำเร็จแล้ว โดยข้ามน้ำข้ามทะเลไปผลิตเบียร์กันที่ไต้หวัน ในงานใหญ่ครั้งนี้พวกเขาได้เข้าไปมีส่วนร่วมอย่างใกล้ชิดในทุกขั้นตอน จึงมั่นใจได้ว่าเบียร์แซนด์พอร์ตที่กำลังจะกลับสู่ปากคอคนไทยนั้นได้มาตรฐานตรงตามที่แบรนด์นี้เคยแสดงไว้อย่างไม่ผิดเพี้ยน     พ่อแม่พี่น้องนักดื่มที่อยู่ในประเทศไทยเตรียมล้างคอรอจิบกับเบียร์แซนด์พอร์ต 2 ฉลาก ต่อไปนี้ได้ในเร็ววัน 1) Bang Bang IPA สไตล์ไอพีเอดีกรี 6% ABV และ 2) Wheat Off the Wall สไตล์อเมริกันวีทเอลดีกรี 5% ABV โดยผลงานเบียร์ทั้งสองชิ้นนี้ต่างก็เคยเติบใหญ่และเรียกเสียงฮือฮาจากนักดื่มมาก่อนแล้วจนกระทั่งวันนี้ได้ผุดสู่ผืนดินอย่างถูกต้องตามกฎหมายเป็นที่เรียบร้อย ดังนั้นเราขอย้ำเตือนว่าหากคุณคิดจะคว้ามาครองดื่มดูแล้วล่ะก็ ให้ไวเข้าไว้! เพราะมิตรรักแฟนเพลงและสมาชิกชาวพันธมิตรแห่งเบียร์ที่กำลังกระหายเบียร์ของเขามีเยอะไม่ใช่เล่นเลยล่ะ

Read more

    “วิช / ดู!” ผลงานการทำเบียร์ของคุณเปี๊ยกแห่ง Golden Coins หนึ่งในขุมกำลังคราฟต์เบียร์ไทยยุคบุกเบิก และร้านคราฟต์เบียร์อย่าง Let the Boy Die ที่โด่งดังไม่ใช่เล่นในหมู่นักดื่มนักชิม   ก่อนที่เราจะมาพูดถึงเบียร์ที่มาในมาดของคนที่เลิกฝันและลงมือทำอย่าง“วิช / ดู!” กัน ก็ขอย้อนเวลากลับไปสักนิดถึงช่วงเริ่มแรกก่อนที่ความคิดมากมายจะสามารถประกอบเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาในปัจจุบัน ในปี 2013 คุณเปี๊ยกซึ่งในเวลานั้นยังเป็นสถาปนิกที่ยังคลุกคลีอยู่กับงานอาคารและพื้นที่ ได้มีโอกาสเข้าไปช่วยดูแลกิจการร้านอาหารของที่บ้านและเริ่มเกิดความสนอกสนใจกับการตื่นตัวของวงการคราฟต์เบียร์ทั่วโลกในขณะนั้นอย่างมาก จนกระทั่งได้ฝึกต้มเบียร์ขึ้นเองและได้รับคำแนะนำต่างๆ จากพี่ชายซึ่งอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา คุณเปี๊ยกได้ใช้เวลาฝึกปรือจนเข้าใจการทำเบียร์มากขึ้นและจากนั้น “เบียร์เหรียญทอง” หรือ Golden Coins และในเวลาต่อมาร้าน Let the Boy Die (Let the Man be Born) ซึ่งเขาตัดสินใจบูรณะขึ้นจากร้านอาหารเก่าของครอบครัวก็ได้ถือกำเนิด       คุณเปี๊ยกมีแนวทางการทำเบียร์ที่มุ่งเน้นการเปิดโลกของคนดื่มให้กว้างขึ้นโดยไม่ได้มุ่งทำเบียร์ที่หวือหวาพิสดารหรือซับซ้อนจนยากแก่การทำความเข้าใจซึ่งบางคนอาจเรียกว่า “เบียร์เทพ” เบียร์ต่างๆ ที่ผลิตออกมาจึงมีลักษณะที่ดื่มง่าย แต่คุณเปี๊ยกก็เน้นคำว่าคุณภาพอยู่เสมอเช่นกัน     กาลเวลาได้ดำเนินมาจนกระทั่งคุณเปี๊ยกได้เกิดความชัดเจนในแนวคิดและการปฏิบัติทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับการทำความฝันให้เกิดขึ้น เขาได้มุ่งหน้าสู่เมืองไซง่อน (นครโฮจิมินห์) ประเทศเวียดนาม และก่อร่างโรงเบียร์เล็กๆ ชื่อว่า “เหรียญทอง” ขึ้นมาในที่สุด       เบียร์ “วิช / ดู!” ถือกำเนิดขึ้นที่นี่และกำลังจะกลับเข้าสู่อ้อมอกแผ่นดินไทยเพื่อให้เราทุกคนได้มีโอกาสลิ้มลองเร็วๆ นี้ โดยมาในสไตล์อเมริกันเพลเอล (American Pale Ale) ซึ่งใช้น้ำจากแม่น้ำไซง่อนในการผลิต เป็นเบียร์เพลเอลที่มีดีกรี 6% ABV และความขม 60 IBU ที่น่าสนใจก็คือเบียร์ “วิช / ดู!” แบตช์ประวัติศาสตร์นี้จะได้เข้าร่วมงาน Beertopia 2016 ซึ่งจัดขึ้นที่ฮ่องกงพร้อมกับคราฟต์เบียร์ผลงานคนไทยอีกบางยี่ห้อด้วย     ติดตามคอยการมาถึงของเจ้า “วิช / ดู!” กันให้ดี เพราะถ้าคุณพลาดไปแม้เล็กน้อยก็อาจจะอดดื่มได้นะ และที่แน่ๆ เราขอแนะนำว่า ถ้าคุณติดตามเพจ...

Read more

เบียร์มหานครเป็นผลงานของคุณเดียร์ ผู้ก่อตั้งนักออกแบบกราฟิกและมือต้มเบียร์อันดับหนึ่งประจำแบรนด์ เส้นทางสู่มหานครได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อราว 2 ปีก่อน เมื่อเขาได้มีโอกาสหัดทำเบียร์ในรูปแบบโฮมบรูว์โดยได้รับการถ่ายทอดวิชาจากคุณวิชิต หรือพี่ชิต (Chit Beer) เช่นเดียวกับอีกหลายต่อหลายคนในวงการคราฟต์เบียร์ของไทย “ผมเป็นคนชอบดื่ม... ผมว่าเบียร์เป็นอะไรที่สากลมาก ไม่ต่างจากน้ำเปล่า (หัวเราะ)” คุณเดียร์เอ่ยขึ้นเมื่อถูกถามว่าเพราะอะไรเขาจึงสนใจหัดทำเบียร์ในแบบของตัวเอง   นอกจากความชื่นชอบในการดื่มกินและลิ้มลองรสชาติใหม่ๆ แล้ว แรงบันดาลใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของคุณเดียร์ก็คือความไร้กรอบของคราฟต์เบียร์โดยเฉพาะในด้านแนวคิดและรสชาติซึ่งเป็นสิ่งทำให้เขาสามารถสำรวจดินแดนแห่งนี้ได้อย่างกว้างขวางออกไปเรื่อยๆ ราวกับไร้ขอบเขต อย่างไรก็ตาม เขายืนยันชัดเจนถึงความหลงใหลในเบียร์แบบหนึ่งซึ่งเขาคิดว่าเหมาะกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย นั่นคือเบียร์แบบ Belgian White นั่นเอง(โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Hitachino White Ale และ Blue Moon) แน่นอนเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อเป็นดังนี้แล้วเบียร์มหานครจึงยืนหยัดในการนำเสนอเบียร์แบบ Belgian White ที่เสริมกลิ่นรสด้วยผิวส้มและเมล็ดผักชีตามแบบฉบับดั้งเดิมมาโดยตลอด โดยคุณเดียร์เผยว่าเขาได้ขลุกอยู่กับการทดลองและพัฒนาสูตรเบียร์มหานครมาอย่างต่อเนื่อง และมุมานะปรับปรุงอยู่หลายต่อหลายแบตช์กว่าจะมาเป็นสูตรที่ลงตัวในปัจจุบันนี้   “...มันมาไกลมาก” คุณเดียร์เปรยเบาๆ เมื่อพยายามเปรียบเทียบ “มหานคร” ในปัจจุบันกับเมื่อเริ่มลองทำหนแรกๆ ในปัจจุบันเบียร์มหานครนั้นถูกผลิตขึ้นที่ไต้หวันกับออสเตรเลีย และแน่นอนว่าคุณเดียร์ได้บรรจงผลิตเบียร์แบบ Belgian White ที่ชื่นชอบขึ้นมาพร้อมกับความหวังว่าสักวันหนึ่งเขาจะต้องก้าวไปคว้ารางวัลมาครองให้ได้เฉกเช่นเดียวกับคราฟต์เบียร์รุ่นพี่อย่างชาลาวัน อย่างไรก็ตาม นอกจากฉลากที่ว่ามานี้ คุณเดียร์ก็ได้บอกกับพวกเราอย่างชัดเจนว่าในไม่ช้าเบียร์มหานครแบบ Pale Ale โทนมาตรฐานก็จะขึ้นฝั่งอ่าวไทยแล้วเช่นกัน มิตรรักแฟนเพลงก็กลืนน้ำลายรอกันได้เลย  เบียร์มหานครแบบเบลเยียนไวท์นั้นโดดเด่นด้วยกลิ่นส้มบางๆ และเครื่องเทศ ดื่มง่ายและสดชื่นอย่างมากตามแบบฉบับที่ควรเป็น คุณเดียร์เองก็มีความตั้งใจและภูมิใจนำเสนอเป็นอย่างยิ่ง ขณะนี้เราขอแจ้งว่าทุกท่านสามารถติดตามความคืบหน้าได้จากเพจ Wishbeer.com ซึ่งจะเปิดให้มีการสั่งซื้อล่วงหน้าเร็วๆ นี้แล้ว เราแนะนำว่าอย่าคลาดสายตาไปเชียว เพราะเบียร์ชุดนี้มีจำนวนจำกัด!   ภาพทั้งหมดจาก Mahanakhon-Brewery   Thai Craft Brewer Interview: Mahanakhon Brewery       

Read more

แม้ว่าเบียร์จะเป็นหนึ่งในบรรดาเครื่องดื่มสุดฮิตของพวกเรามวลหมู่มนุษยชาติมานับพันปี และบางตำราก็บ่งชี้ว่ามันสลักสำคัญต่อสังคมมากถึงขนาดส่งผลให้ชาวโลกเริ่มคิดทำการกสิกรรมเพาะปลูกขึ้นเป็นครั้งแรกกันเลยทีเดียว เบียร์กลับยังคงถูกเข้าใจอย่างผิดๆ อยู่ร่ำไป และวันนี้เราได้รวบรวมความคิดที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเบียร์ 8 อย่าง มาตีแผ่ให้กระจ่าง  ภาพจาก vinepair เบียร์ดำต้องแรง ภาพจาก homebrewerassociation  แม้ว่ามีหลายสิ่งในโลกที่ชวนให้คิดไปว่าสีเข้มนั้นสะท้อนถึงบางอย่างที่ดุดันและหนักหน่วง แต่นั่นไม่เกี่ยวกับเบียร์สีเข้มหรือสีดำเพราะสีของเบียร์นั้นแปรผันตามระยะเวลาที่มอลต์ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักถูกคั่วนั่นเอง ยิ่งคั่วนานมากก็ให้สีเข้มมากแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นระดับแอลกอฮอล์ไม่จำเป็นต้องแรงตามไปด้วย เพราะนั่นอยู่ที่ว่าจะมีน้ำตาลจากมอลต์ถูกยีสต์จัดการแปรสภาพไปมากน้อยเพียงใดต่างหาก สำหรับความขมก็เช่นกัน เบียร์ดำอาจจะมีรสขมคั่วแบบกาแฟได้บ้างแต่นั่นก็เป็นคนละอย่างกันกับความขมแบบที่มาจากดอกฮอปส์อย่างเช่นในเบียร์สไตล์ไอพีเอ สรุปว่าเบียร์ดำไม่จำเป็นต้องแน่น ขม และแรงแต่อย่างใด เบียร์อร่อยต้องเสิร์ฟในอุณหภูมิเย็นจัด ภาพจาก homewetbar  ในเมืองร้อนชื้นอย่างบ้านเรานั้น เบียร์ลาเกอร์เย็นเฉียบก็เป็นสิ่งพึงประสงค์โดยทั่วไปสำหรับผู้คนที่ต้องการดับกระหาย อย่างที่เราจะเห็นได้จากการที่เบียร์ใส่น้ำแข็งและเบียร์วุ้นแก้วแช่ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างมาก อีกทั้งยังมีบาร์หลายแห่งที่ประกาศก้องว่ามีเบียร์เย็นที่สุดในโลกให้บริการ เย็นแล้วเย็นอีกแบบที่เรียกว่ายะเยือกถึงอุณหภูมิติดลบกันไปเลย แนวปฏิบัติแบบนี้มีมานานจนกระทั่งหลายๆ คนคิดไปว่ายิ่งเย็นยิ่งดี อย่างไรก็ตาม อันที่จริงแล้วการจะดื่มเบียร์ให้ได้รสชาติดีที่สุดนั้น หนึ่งในปัจจัยสำคัญก็คืออุณหภูมิที่เหมาะสมนั่นเอง และเบียร์แต่ละชนิดก็มีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไปยกตัวอย่างคร่าวๆ เช่น เบียร์ที่เนื้อเบาบางถึงปานกลางจำพวกพิลสเนอร์หรือเพลเอลนั้น ก็ควรถูกดื่มด่ำที่ 4-6 องศาเซลเซียส ขณะที่เบียร์แบบที่แน่นหนักกว่าก็อาจเหมาะสมที่ราว 10-12 องศาเซลเซียส เป็นต้น คราวหน้าลองดื่มในอุณหภูมิที่เหมาะกับสไตล์เบียร์สิ แล้วคุณจะเข้าใจกลิ่นรสของเบียร์ในมือได้ดีกว่าเดิมเยอะ เบียร์กระป๋องคือเบียร์ไม่ดีและราคาถูก  ภาพจาก doctorale  เรื่องราวมายาคติเกี่ยวกับความไร้รสนิยมและราคาถูกของกระป๋องนั้นอาจจะมีความซับซ้อนและเกิดจากผลิตภัณฑ์อื่นๆ หลายอย่าง แต่เราขอบอกเลยว่าที่จริงแล้วกระป๋องอลูมิเนียมนั้นเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยเก็บรักษาคุณภาพน้ำเบียร์ได้อย่างดีที่สุด เนื่องจากความสามารถในการปกป้องเบียร์จากแสงและออกซิเจนที่ทั้งขวดแก้วและเครื่องเสิร์ฟเบียร์สดต่างก็เทียบไม่ติดเลย ที่สำคัญคือเทคโนโลยีใหม่ๆ ในปัจจุบันก็ทำให้ลวดลายบนกระป๋องนั้นสวยสดงดงามจนน่าสะสมไม่ใช่เล่นแถมยังมีน้ำหนักเบาและไม่แตกง่ายๆ อีกด้วยนะ คราฟต์เบียร์ควรจะต้องถูกเก็บบ่มเอาไว้ให้นานก่อนเปิดดื่ม  ภาพจาก frankenmuthbrewery  เรื่องนี้เหมือนจะถูกเพียงบางส่วน เพราะเบียร์นั้นไม่เหมือนกับเหล้าหลายชนิดที่ผู้คนซื้อมาเก็บเอาไว้นานนับปีก่อนดื่มและการเป็นคราฟต์เบียร์ก็ไม่ใช่ข้อบ่งชี้ว่าคุณควรจะต้องเก็บงำมันไว้ให้เนิ่นนาน จริงอยู่ว่ามีเบียร์บางชนิดที่อาจให้รสที่นุ่มนวลขึ้นเมื่อเราเก็บไว้อย่างถูกวิธีในระยะเวลาที่เหมาะสม เช่น เบียร์ที่เด่นด้านมอลต์และมีแอลกฮอล์สูงๆ อย่างบาร์เลย์ไวน์ แต่โดยทั่วไปแล้วคุณควรจะรีบดื่มโดยเร็วเพื่อลิ้มรสความสดใหม่ของเบียร์อย่างที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะเบียร์ที่เด่นด้านกลิ่นฮอปส์ต่างๆ เช่น ไอพีเอคราวนี้ใครคิดจะซื้อเบียร์ไปบ่มไว้โดยหวังว่าจะได้ดื่มเบียร์แสนนุ่มลึกก็ให้ลองหาข้อมูลดูก่อนนะว่าเบียร์นั้นๆ ควรถูกเก็บไว้หรือไม่อย่างไร ทำผิดไปคงเสียดายแย่ ลาเกอร์และพิลสเนอร์คือเบียร์แบบเดียวกัน  ภาพจาก berghoffbeer  พูดแบบนี้ก็คงถูกเพียงเสี้ยวเดียว เนื่องจากพิลสเนอร์นั้นเป็นเพียงหนึ่งในเบียร์ลาเกอร์หลายๆ แบบ เบียร์พิลสเนอร์นั้นมีสีทองใสและให้รสที่สดชื่นซาบซ่าน ส่วนลาเกอร์นั้นอาจจะมาในสีดำทะมึนหรือมีเนื้อหนักแน่นด้วยมอลต์มาเลยก็เป็นได้ สรุปแล้วลาเกอร์คือประเภทของเบียร์ (เช่นเดียวกับเอล) และพิลสเนอร์เป็นประเภทหนึ่งของลาเกอร์นั่นเอง เบียร์แช่เย็นที่ถูกทิ้งไว้จนอุ่น จะเกิดกลิ่นเหม็นฉุนแบบตัวสกังค์  ภาพจาก reactions  การที่อุณหภูมิของเบียร์เปลี่ยนไปมาอย่างมากบ่อยๆ นั้นไม่ใช่เรื่องที่ดีก็จริง เนื่องจากอาจทำให้เบียร์มีลักษณะชืดและสูญเสียความสดใหม่ แต่กลิ่นฉุนแบบสกังค์นั้นเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเบียร์นั้นโดนแสงหรือรังสียูวีต่างหากล่ะ ดังนั้นคุณควรจะเก็บเบียร์ไว้ในที่มิดชิดไม่ถูกแสงมากนักจะดีกว่ามาก โดยเฉพาะบรรดาเบียร์ที่ใส่ดอกฮอปส์เยอะๆ ทั้งหลาย เบียร์ทุกแบบจริงๆ แล้วก็เหมือนกันหมด  ภาพจาก telegraph  หลายคนที่มีโอกาสลองดื่มคราฟต์เบียร์บ่อยๆ อาจจะไม่คิดเช่นนี้...

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.