Beer RSS

ภาพจาก thenutritionwatchdog   เครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Egg Nog ถือเป็นของเก๋ไก๋ที่เข้ากันดีกับช่วงเทศกาลคริสต์มาสและวันขึ้นปีใหม่ที่อากาศเย็นสบายแบบนี้ เพราะความเข้มข้นนมเนยและดีกรีที่ทำให้เราอบอุ่นใจ สำหรับบางคนที่เคยอ่านวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง The Little House in the Big Woods ก็อาจจะจำกันได้คลับคล้ายคลับคลา วันนี้เรามาในฐานะคอเบียร์ ดังนั้นเราจะไม่อธิบายวิธีการทำเจ้า Egg Nog ให้เสียเวลา แต่เราจะมาทำ Beer Nog ในแบบโฮมเมดกัน (อันที่จริงมันก็ไม่ต่างกันมากนัก แต่เราชอบเมนูนี้มากกว่าเห็นๆ) ถ้าถามว่าแล้วรสชาติจะออกมาแนวไหน คุ้มที่จะทำหรือไม่ เราก็พอบรรยายได้ดังนี้ว่า นี่จะเป็นเครื่องดื่มที่หวานนุ่มและข้น หอมเครื่องเทศ ตามแบบฉบับ Nog ดั้งเดิม แต่ความซ่าเบาๆ จากเบียร์จะช่วยลดความแน่นหนักลง จากนั้นก็ขึ้นอยู่กับเบียร์ที่คุณเลือกมาแล้วล่ะว่าจะมีกลิ่นรสอย่างไร เสริมมิติอะไรให้กับ Beer Nog ของคุณ   สไตล์เบียร์ที่เราแนะนำให้ใช้: เบลเยียน สตรองเอล, อิมพีเรียลสเตาท์, บาร์เลย์ไวน์, เบียร์ประจำเทศกาลคริสต์มาสและขึ้นปีใหม่และเบียร์ประจำฤดูหนาว   เอาล่ะ สูตรต่อไปนี้สามารถเสิร์ฟได้ทั้งสิ้น 4 แก้วด้วยกัน มาเตรียมตัวเซอร์ไพรส์เพื่อนๆ ของคุณกันเลย! ภาพจาก hoplightsocial   ส่วนผสม  ไข่ไก่ 4 ฟอง น้ำตาล ½ ถ้วย นมโคไม่พร่องมันเนย 1 ½ ถ้วย ครีม 1 ถ้วย เมล็ดจันทน์เทศป่นหรือดอกจันทน์เทศป่น 2 หยิบมือ เบียร์ที่เลือกใช้ 4ออนซ์ (ราว 120 มิลลิลิตร)* เราชอบใช้บาร์เลย์ไวน์ หรือไม่ก็อิมพีเรียลสเตาท์ เบอร์เบิน หรือดาร์ครัม ½ ออนซ์ (ราว 15 มิลลิลิตร) * เมนูนี้เราลดปริมาณเหล้าลง เนื่องจากต้องการกลิ่นรสของเบียร์ ภาพจาก dishmaps   วิธีทำ        แยกไข่แดงออกจากไข่ขาว...

Read more

ภาพจาก thegrapesunwrapped จะไปทางไหนดี จะมีใครชี้ทาง? เราเองไงจะใครล่ะ สำหรับคนที่นิยมการจิบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดหรือสังสรรค์กับเพื่อนฝูงแล้ว ย่อมจะต้องเห็นว่ามีความแปลกใหม่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมเบียร์ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การเข้ามาของเบียร์นอกและคราฟต์เบียร์จำนวนมากมาย กระทั่งในปัจจุบันก็เริ่มมีแบรนด์ที่คนไทยทำขึ้นแล้วนั้นยิ่งทำให้มุมมองต่างๆ ที่นักดื่มยุคก่อนมีต่อเครื่องดื่มที่เรียกว่าเบียร์เปลี่ยนไปบ้างไม่มากก็น้อย หลายคนก็อาจคิดอยากลองเปลี่ยนแก้วไวน์มาจับเบียร์ดูบ้างเป็นครั้งคราว แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน เพราะที่ผ่านมาก็แทบไม่ได้แตะเบียร์เลยและโลกของคราฟต์เบียร์ก็เปิดทางเลือกให้อย่างมากมายเหลือเกิน วันนี้เรามีคำแนะนำเบื้องต้นมาให้ดูเป็นแนวทาง มาดูกันเลย   คอแชมเปญ: เบียร์สไตล์เซซง เบียร์เซซงนั้นมีลักษณะที่ซ่าและให้ความสดชื่นได้ดี มีความ “ดราย” และเปรี้ยวฉ่ำบางๆ คล้ายกับเครื่องดื่มจำพวกไวน์ขาวที่สดใสซาบซ่านอย่างแชมเปญ สำหรับเบียร์เซซงนั้นคุณอาจได้กลิ่นอายสดใสคล้ายเลมอน หอมเผ็ดร้อนเล็กน้อยอย่างพริกไทยดำและสมุนไพรแห้ง   คอวิสกี้: เบียร์สไตล์เวียนนาลาเกอร์ อันที่จริงสำหรับคนไทย (และอาจจะทั้งโลกนั่นแหละ) การที่คุณจะเป็นคอเหล้าวิสกี้และชอบดื่มเบียร์ลาเกอร์อยู่แล้วก็ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรนัก แต่ถ้าคุณเบื่อหน่ายกับเบียร์ลาเกอร์ตามท้องตลาดที่คุณมักดื่มฆ่าเวลาและอยากลองอะไรที่น่าสนใจมากขึ้นอีกหน่อย เราแนะนำให้หาเบียร์สไตล์เวียนนาลาเกอร์มาลองจิบดู กลิ่นมอลต์คั่วที่ให้ความซับซ้อนและนุ่มลึกจะทำให้คุณเชื่อมติดประสบการณ์กับวิสกี้ที่คุณโปรดปรานได้ไม่ยากนัก   คอรัม หรือพอร์ตไวน์: เบียร์สไตล์เบลเยียนสตรองเอล หรือไม่ก็สไตล์บาร์เลย์ไวน์ เนื้อเบียร์เหล่านี้มีความหนักแน่น ดีกรีแรงและรสจัดจ้านเต็มปากเต็มคำ ติดหวานเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะที่คอเหล้ารัมย่อมคุ้นเคยดี สายแข็งรีบจัดเลย   คอไวน์โซวิญง บลองก์: เบียร์สไตล์ดับเบิลไอพีเอ ดับเบิลไอพีเอเป็นเบียร์ที่มีระดับความขมสูงมาก แต่เป็นเบียร์ที่ดื่มไม่ยากเพราะเบียร์แบบนี้มักจะมีความสมดุลของรสชาติค่อนข้างมาก ด้วยกลิ่นฮอปส์ที่หอมแรง เนื้อมอลต์แน่นและติดหวานกลมกล่อม ทำให้คอไวน์แนวหอมจัดจ้านเช่นนี้เข้าใจทิศทางได้เป็นอย่างดีและเข้าสู่การดื่มด่ำอรรถรสได้ไว   คอไวน์มอสกาโต้: เบียร์สไตล์ไวส์เบียร์ คอไวน์ที่ชื่นชอบรสชาตินุ่มนวล ละมุนลิ้น ติดหวานและมีกลิ่นหอมแนวผลไม้ให้ลองสั่งวีทเบียร์ (ควรเป็นเฮเฟอไวเซ่นแบบเยอรมัน) มาลองจิบดูกลิ่นรสของเบียร์แนวนี้มักจะสดใสคล้ายผลกล้วย ผสานกับความหอมเย็นของกานพลู อีกทั้งยังให้สัมผัสที่นุ่มปากคอด้วย   คอรีสลิ่ง: เบียร์สไตล์โกเซอ สำหรับใครที่ชอบดื่มรีสลิ่งแบบเยอรมันซึ่งหอมฟุ้ง มีรสปะแล่ม ออกไปทาง “ดราย” และติดเปรี้ยวหวาน คุณอาจมองหาเบียร์โกเซอที่ปัจจุบันยังมีไม่มากฉลากนักในบ้านเรามาลองดื่มดู เบียร์แนวนี้จะมีรสปะแล่มติดเค็มและอาจซ่อนความเปรี้ยวสดชื่นไว้อย่างลงตัวภายใต้กลิ่นหอมเผ็ดร้อนอย่างเครื่องเทศ คุณอาจประหลาดใจเล็กน้อยกับเบียร์แบบนี้ (ในทำนองที่ว่าเบียร์มีแบบนี้ด้วยจริงเหรอ) แต่นั่นเป็นเรื่องที่เข้าใจได้เพราะว่าเบียร์สไตล์นี้เพิ่งกลับมาได้รับความนิยมในหมู่คนดื่มคราฟต์เบียร์เมื่อไม่กี่ปีมานี้เองหลังจากถูกอุตสาหกรรมเบียร์มองข้ามและละทิ้งไปนาน   คอเบอร์เบิน: เบียร์สไตล์เบอร์เบิน บาเรลเอจ อิมพีเรียลสเตาท์ สายนี้ค่อนข้างตรงไปตรงมาตามชื่อเสียงเรียงนาม เนื่องจากว่านี่คือเบียร์อิมพีเรียลสเตาท์ที่พกพาความหอมอบอุ่นแบบช็อกโกและและกาแฟมาผสานเข้ากับกลิ่นหอมหวานอย่างวานิลลา คาราเมล และไม้โอ๊กจากถังเหล้าเบอร์เบินได้อย่างลงตัว ทั้งดีกรีที่หนักหน่วง รสจัด และกลิ่นท้ายที่ยาวนาน คอเบอร์เบินชั้นดีควรลอง และไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวงหากคุณชอบดื่มกาแฟด้วย   คอเบอร์กันดี: เบียร์สไตล์แฟลนเดอร์ส เรดเอล หากคุณนิยมไวน์แดงปิโนต์นัวร์ชั้นเลิศจากเบอร์กันดีในฝรั่งเศส หรือไวน์ “เชอรี่”จากเฆเรสในสเปน เบียร์อาจเป็นเครื่องดื่มที่คุณรู้สึกอินยากอยู่สักหน่อย เว้นเสียแต่ว่าคุณจะได้ลองจิบแฟลนเดอร์ เรดเอล...

Read more

โค้งสุดท้ายของปี 2559 กำลังใกล้เข้ามาทุกขณะ และการขับเคี่ยวปล่อยหมัดเด็ดของบรรดาค่ายเบียร์ยักษ์ใหญ่ก็เรียกได้ว่านัวเนียอย่างถึงพริกถึงขิงเลยทีเดียว ล่าสุดเบียร์ช้างจากค่ายไทยเบฟฯ ก็ได้เผยโฉมใหม่ของบรรจุภัณฑ์เบียร์ช้างที่แลดูโฉบเฉี่ยวทันสมัยและพร้อมจะเขย่าตลาดเบียร์ให้คึกคักอีกครั้งโดยให้ชื่อซีรี่ส์ของแพคเกจนี้ว่า “limited edition” การปรับลุคครั้งนี้ ทีมงานเบียร์ช้างได้มอบหมายกราฟิกดีไซเนอร์แนวหน้าที่มีผลงานร่วมกับสินค้าแบรนด์ดังและคว้ารางวัลมามากมายอย่าง อเล็กซ์ โทรชูต (Alex Trochut) เป็นผู้รังสรรค์ความงาม ด้วยแนวความคิดที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวของมิตรภาพระหว่างเพื่อนพ้อง และความเชื่อมโยงผูกพันของเบียร์ช้างและผู้บริโภค สารพัดสายลายเส้นเลื่อนไหลผ่านคำว่า Chang และหลอมรวมกันอย่างกลมเกลียว ประกอบกับโทนสีแดงที่เร่าร้อนสะท้อนถึงพลัง ความเคลื่อนไหว และมิตรภาพได้อย่างลงตัวและมีความเป็นสากล ดีไซน์ใหม่นี้จะเป็นโครงการสำคัญในช่วงส่งท้ายปีและต้อนรับศักราชใหม่ โดยเบียร์ช้างได้นำเสนอสู่สาธารณชน 4 รุ่นด้วยกัน แบ่งตามขนาด ดังนี้ 1. แพ็ก 12 ขวด 2. แพ็ก 12 กระป๋อง 3. ขวดแก้วฉลากฟิล์มหด (Shrink Wrap) และ 4.ขวดแชมเปญ ในปลายปีนี้ แม้ว่าเราจะไม่ได้เห็นลานเบียร์และงานคอนเสิร์ตอย่างทุกปี แต่เบียร์ช้างและบรรจุภัณฑ์ที่สดใหม่และเต็มไปด้วยความหมายคราวนี้ก็ช่วยทำให้บรรยากาศการเฉลิมฉลองมีสีสันและน่าสนุกเช่นเคย หากใครไม่อยากตกยุคหรืออยากจะดื่มด่ำเบียร์ช้างพร้อมความรู้สึกใหม่ๆ สามารถมองหาได้เลยที่ Wishbeer Home Bar และร้านค้าออนไลน์ Wishbeer.com

Read more

  ภาพจาก garden.lovetoknow   คอเบียร์โดยเฉพาะคราฟต์เบียร์แทบทุกคนย่อมรู้จักกันดีว่าดอกฮอปส์คืออะไร ที่ผ่านมาพวกเราต่างเชยชมความงามของกลิ่นดอกฮอปส์แต่ละสายพันธุ์ที่แตกต่างกันไปอย่างมีเอกลักษณ์ มีบางคนที่ฝึกฝนประสาทการรับรู้และศึกษาหาข้อมูลจนถึงจุดที่สามารถแยกได้ว่าเบียร์ตำรับหนึ่งๆ นั้นถูกปรุงขึ้นจากสายพันธุ์แคสเคด ซิมโค โมเสค นักเก็ต หรืออื่นๆ จากการชิมเพียงไม่กี่จิบ ซึ่งนั่นทำให้เราอดนึกถึงทักษะของนักชิมไวน์ผู้เชี่ยวชาญไม่ได้เลย(อาจรวมไปถึงชาและกาแฟด้วย)พวกเขาเป็นมนุษย์ที่จิบไวน์เพียงไม่กี่คำก็มองได้อย่างทะลุปรุโปร่งไปถึงแหล่งกำเนิดและสายพันธุ์ขององุ่นที่ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักของไวน์ในแก้ว และที่เป็นเช่นนี้ส่วนสำคัญอย่างหนึ่งก็อาจเป็นเพราะองค์ความรู้ที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานของการดื่มชิมไวน์ ในขณะที่เรื่องการชิมเบียร์นั้นยังเป็นพื้นที่ซึ่งเพิ่งได้รับความสนใจอย่างจริงจังเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้เอง   ภาพจาก growlermag   ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ขององุ่นที่มีผลต่อการทำไวน์นั้น แนวทางการวิเคราะห์ที่สำคัญอย่างหนึ่งให้น้ำหนักไปที่เรื่องของ “แตร์ฮวาร์” หรือ terroir ซึ่งในบริบททั่วไปนั้นแปลว่า ดิน หรือ แผ่นดิน แต่ในการทำไวน์ เราจะเข้าใจกันว่าหมายรวมถึงภูมิอากาศย่อยๆ หรือ“ดินฟ้าอากาศ” ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีความเฉพาะตัวในรายละเอียด ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของเนื้อดินทั้งผิวดินและใต้ดิน แร่ธาตุ ปริมาณแสงแดดและน้ำฝน (รวมถึงหิมะ น้ำค้าง และลูกเห็บ) ทิศทางและแรงลม และอื่นๆ ซึ่งรวมแล้วก็คล้ายกับว่าเป็นการมองหาฮวงจุ้ยที่เหมาะสมนั่นเอง ภาพจาก westword   ในวงการคราฟต์เบียร์ร่วมสมัย เรื่องของ terroir ยังไม่ได้ถูกนำมาพูดถึงกันอย่างลึกซึ้งมากนัก เราเพียงแต่ระบุกันว่าเป็นดอกฮอปส์สายพันธุ์อะไรและอย่างดีก็เก็บเกี่ยวในช่วงใดของปี หรือมีค่าความเป็นกรดกี่มากน้อย แต่เมื่อคราฟต์เบียร์ได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่ขยายวงออกไปทั่วโลก การเพาะปลูกฮอปส์ก็ผุดขึ้นทั่วทุกแห่งหน รวมทั้งในประเทศไทยด้วยเรื่องราวความแตกต่างของแต่ละพื้นที่ที่จะส่งผลต่อคุณสมบัติของผลผลิตดอกฮอปส์แต่ละสายพันธุ์จึงเกิดได้รับความสนใจมากขึ้น   ภาพจาก devafarmcafe   ปัจจุบันมีการจัดงานชิมเบียร์ที่มุ่งความสนใจไปที่เรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะเช่น ที่ร้าน Federalist Public House ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาในงานนี้นักชิมจะได้รับเบียร์ทั้งหมด4 ชุด ซึ่งทำขึ้นมาด้วยสูตรและขั้นตอนการผลิตที่เหมือนกันทุกประการรวมทั้งสายพันธุ์ของดอกฮอปส์ซึ่งใช้พันธุ์แคสเคดด้วย ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวในเบียร์เหล่านั้นก็คือแหล่งเพาะปลูกของดอกฮอปส์แคสเคดพวกนั้นนั่นเอง และรสชาติของเบียร์ที่ออกมาต่างกันอย่างมากจนราวกับว่าเป็นเบียร์คนละสูตรก็ทำให้นักชิมตะลึงได้เสมอทุกครั้งที่จัดงาน และก็ยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีกเมื่อผู้จัดได้เผยในตอนท้ายว่าฟาร์มฮอปส์เหล่านี้ตั้งอยู่ในละแวกที่ห่างกันไม่ถึง200 กิโลเมตรด้วยซ้ำ!   ภาพจาก draftmag   จึงเป็นเรื่องที่น่าติดตามชมอย่างยิ่งว่าดอกฮอปส์ที่กำลังเริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นในบ้านเรา จะทำให้เกิด Hops Farm ขึ้นมาอีกกี่แห่ง และดอกฮอปส์ที่มีกลิ่นรสจากจิตวิญญาณท้องถิ่นแต่ละแห่งจะออกมาเป็นอย่างไร แต่เราว่าในอนาคตวงการทำคราฟต์เบียร์ไทยคงสนุกคึกคักกันไม่รู้จบเลยล่ะ    

Read more

  ภาพจาก kegerator   เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่คอเบียร์ชาวไทยจำนวนไม่น้อยกำลังเริ่มมีความตื่นตัวเกี่ยวกับเครื่องดื่มที่เปรียบได้กับของขวัญจากพระเจ้าชนิดนี้มากขึ้นทุกขณะ แต่ในช่วงที่ผ่านมา หลังจากตลาดเบียร์ประเภทลาเกอร์ (Lager beer)ในบ้านเรามีความเคลื่อนไหวสำคัญๆ เกิดขึ้น เราก็ได้ค้นพบว่ายังมีนักดื่มอีกจำนวนมากมายจริงๆ ที่มีความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนหรืออาจจะคลาดเคลื่อนไปเลยเกี่ยวกับเรื่องเบียร์ลาเกอร์โดยมากมักจะคิดกันไปว่าเบียร์ลาเกอร์มีแบบเดียวคือสีทองใส รสซ่า มีรสชาติไม่ซับซ้อน “หอมหวานทานง่าย” หรือ “รสนุ่มบางเบา” อะไรทำนองนั้น แตกต่างจากเบียร์เอลที่มีสีเข้ม แรงและรสจัด ผิดเต็มประตู! เบียร์ลาเกอร์มีอะไรมากกว่านั้นเยอะ   จริงอยู่ว่าเมื่อพิจารณาจากปริมาณการขายแล้ว เบียร์ลาเกอร์ที่วางขายเป็นส่วนมากในโลกนี้จะเป็นเบียร์ที่สีทองใสซ่าและรสบางในแบบอเมริกันหรืออินเตอร์ฯ เพลลาเกอร์ (เบียร์ลาเกอร์สีจาง) ซึ่งเป็นประเภทย่อยของเบียร์ที่หมักด้วยยีสต์สายพันธุ์ลาเกอร์เท่านั้น   คำว่า “ลาเกอร์” (Lager) มาจากภาษาเยอรมัน แปลว่า ห้องเก็บของ ห้องกักกัน ห้องเก็บรักษา คำกริยาในภาษาอังกฤษที่ว่า Lagering หมายถึงการหมักและบ่มเบียร์ในห้องเย็น (ยีสต์สายพันธุ์ที่ใช้ทำเบียร์ลาเกอร์ทำงานได้ดีในอุณหภูมิต่ำ) โดยในอดีตจะมีการขุดหลุมให้เป็นห้องเก็บเบียร์ซึ่งจะมีการนำเอาน้ำแข็งจากแม่น้ำลำธารในละแวกใกล้เคียงมาใส่ไว้เพื่อรักษาอุณหภูมิเบียร์ให้ต่ำในช่วงฤดูร้อน นอกจากนี้ยังมีการปลูกต้นไม้ที่แผ่กิ่งก้านสาขาได้ดีและรากไม่หยั่งลึกนักเอาไว้ข้างบนเพื่อบังแดดด้วย (มีโรงเบียร์ในยุโรปหลายแห่งที่ยังคงดูแลหลุมถ้ำเหล่านี้ไว้เป็นอย่างดี และคุณสามารถเข้าชมได้ ในบางแห่งคุณอาจนั่งดื่มกินในถ้ำพวกนี้ได้ด้วย)   ในสมัยหนึ่ง พิลสเนอร์ซึ่งเป็นหนึ่งในเบียร์เพลลาเกอร์ เคยถูกมองว่าเป็นเบียร์ยุคใหม่ที่เปิดโอกาสให้นักทำเบียร์ได้ใช้ดอกฮอปส์จำนวนมาก และในปัจจุบันมีพิลสเนอร์จากโรงคราฟต์เบียร์มากมายที่อัดแน่นไปด้วยฮอปส์ที่น่าสนใจจากทั่วโลก ดังนั้นเบียร์พิลสเนอร์แต่ละยี่ห้อจึงมอบความพึงพอใจที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นอายของดอกไม้ใบหญ้า หรือน้ำผึ้งและผลไม้ต่างๆ นานา   เบียร์ “พอร์เตอร์บอลติก” เป็นเบียร์ที่มีคำว่าพอร์เตอร์ในชื่อ ผู้คนจึงมักคิดว่าเป็นเบียร์เอล แต่อันที่จริงเป็นเบียร์ลาเกอร์ เบียร์สไตล์นี้มีรสแน่นข้นจัดจ้านมาก คล้ายนมช็อคโกแลตผสมเครื่องเทศ ผลไม้สีเข้ม กากน้ำตาล ฉาบด้วยความเผ็ดร้อนจากแอลกอฮอล์   เบียร์ลาเกอร์แบบ “ไอส์บ็อค” (Eisbock) มีดีกรีสูงพอที่จะทำให้คุณเมาได้ภายในการดื่ม 1-2 แก้วเท่านั้น กรรมวิธีคือนักต้มเบียร์จะให้เบียร์ผ่านจุดเยือกแข็งเพื่อแยกน้ำออกจากเบียร์ สิ่งที่คงเหลืออยู่จึงเป็นเบียร์“ตัวกลั่น” ทั้งนั้น รสจัดแน่นแต่ดื่มได้ไม่ยากเกินไป มอลต์หนักแน่นและนุ่ม รับประกันความแรง   ยังมีเบียร์ประเภทลาเกอร์อีกหลายชนิดย่อยๆ ที่มีรสจัดจ้าน ไม่ว่าจะเป็น Rauchbier (เบียร์รมควัน / ไม่ได้รมด้วยควันตรงตัวตามชื่อเรียก แต่มีการใช้มอลต์ผ่านไฟเป็นวัตถุดิบ), Amber Kellerbier Munich Dunkel, Schwarzbier และอื่นๆ นอกจากนี้ในปัจจุบันยังมีลาเกอร์สไตล์ใหม่ๆ เกิดขึ้นในโลกของคราฟต์เบียร์อีก เช่น อินเดียเพลลาเกอร์ เป็นต้น  ...

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.