Beer RSS

Growler หรือเจ้าภาชนะหน้าตาแสนคลาสสิคที่เรียกกันว่า “โกร-เล่อ” นั้นเป็นหนึ่งในสิ่งของสารพันอย่างที่คอเบียร์ทั่วโลกให้ความสนใจและมักมีไว้ใช้เป็นของตัวเองด้วย แต่เราสังเกตว่ายังมีนักดื่มในบ้านเราน้อยคนนักที่รู้จักมันและยิ่งน้อยลงไปอีกเมื่อถามว่าพอจะมีไว้ใช้บ้างสักใบสองใบไหม นั่นอาจมีสาเหตุมาจากปัญหาเรื่องวัฒนธรรมและกฎระเบียบเกี่ยวกับการดื่มของเราที่ไม่ค่อยเอื้อต่อการใช้เหยือกโกรว์เลอร์มากนัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนี้ความนิยมในการดื่มคราฟต์เบียร์ได้นำพาให้ตลาดเริ่มเปิดกว้างและเบ่งบานมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้การใช้โกรว์เลอร์เริ่มมีความเป็นไปได้และเราก็อยากให้ลองดู โกรว์เลอร์ คือ ภาชนะที่ใช้ในการขนส่งเบียร์จากแหล่งเพื่อนำไปสู่การบริโภคโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสภาพน้ำเบียร์ที่สดใหม่ที่สุดเอาไว้ มีรูปแบบเป็นเหยือกมีฝาพร้อมปิดสนิท (อากาศไม่ไหลเวียนเข้าออก) และสามารถทำขึ้นได้จากวัสดุที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นแก้ว เซรามิค หรือโลหะสแตนเลส เรื่องราวที่มาของเหยือกชนิดนี้เป็นสิ่งที่หลายคนถกเถียงกันอยู่ไม่น้อย แต่หลักๆ แล้วก็เป็นที่เห็นพ้องกันทั่วไปว่าในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 นั้น Growler ก็คือถังเหล็กที่ใช้สำหรับขนส่งเบียร์จากผับในท้องถิ่นสู่บ้านของนักดื่มนั่นเอง มีช่วงเวลาหนึ่งที่การใช้ Growler ไม่ได้รับการยอมรับจากภาครัฐในหลายประเทศจนถึงขั้นสั่งห้ามใช้และมีสถานะผิดกฎหมาย เนื่องจากว่าเกิดความนิยมที่บรรดาพ่อบ้านทั้งหลายใช้ให้ลูกๆ ซึ่งอายุไม่ถึงเกณฑ์ออกไปซื้อเบียร์กลับมาให้เป็นประจำ จนเกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา อย่างไรก็ตามปัจจุบันนี้เหยือกเจ้ากรรมก็ได้กลับมาโลดแล่นอีกครั้งอย่างสวยงามบนกระแสความนิยมคราฟต์เบียร์ทั่วโลกซึ่งรวมถึงในประเทศไทยที่เริ่มจะมีผู้ให้บริการหลายรายที่ยินดีจะกดเบียร์ลงโกรว์เลอร์ให้คุณแล้ว   โกรว์เลอร์มี 3 ประเภทหลักด้วยกัน   แบบแก้ว: แก้วนั้นดีงามเพราะมันสวยหรูดูดี และมองเห็นได้ไม่ยากว่าเราควรจะต้องกลับไปเติมเบียร์อีกครั้งเมื่อไหร่ โดยเราสามารถพบเห็นได้ทั้งแบบแก้วใสและแก้วสีชา แต่ที่ขอแนะนำคือแบบสีชา เนื่องจากคนรักเบียร์ย่อมทราบดีว่ารังสี UV นั้นสามารถทำให้น้ำเบียร์ของคุณเสียหายแบบกู่ไม่กลับได้เลย และในประเทศที่มีแสงแดดร้อนแรงอย่างบ้านเรานั้น เหยือกโกรว์เลอร์ใสแจ๋วคงเป็นอะไรที่ผิดที่ผิดทางแบบสุดๆ สิ่งหนึ่งที่ควรจำให้ขึ้นใจเมื่อคุณดื่มด่ำมาไม่น้อยก็คือ แก้วมันแตกง่ายนะเออ!   แบบสแตนเลส: โลหะไร้สนิมหรือสแตนเลสนั้นเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมสูงมากในการใช้ทำโกรว์เลอร์ เนื่องจากมันแข็งแกร่งทนทาน ไม่แตกเมื่อตกกระแทก และยังช่วยคงความเย็นเอาไว้ได้นานกว่าอีกด้วย โกรว์เลอร์แบบนี้จึงเหมาะเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ใช้งานบ่อยๆ และดูเฟี้ยวไม่หยอกหากจะนำไปใช้นอกสถานที่ เช่น การตั้งแคมป์ ปีนเขา หรือไปปาร์ตี้ริมหาด (ลองดูตัวอย่างโกรว์เลอร์แบบสแตนเลสได้ที่ https://www.wishbeer.com/en/accessories/2145-hitachino-growler.html) แบบเซรามิค:  โกรว์เลอร์แบบเซรามิคนั้นสวยสง่าและหายาก เหมาะแก่การสะสม แต่สำหรับผู้ที่ใช้บ่อยๆ เราเองไม่แนะนำมากนัก เนื่องจากมันทำความสะอาดยากกว่าแบบอื่นๆ น้ำหนักมากกว่าใครและยังแตกง่ายเสียอีกด้วย แต่สำหรับใครที่อยากสะสมเอาไว้สวยๆ นี่แหละคุณค่าที่คุณคู่ควร          

Read more

                  สำหรับเบียร์หนึ่งขวดหรือหนึ่งกระป๋อง สิ่งที่นักดื่มสนใจที่สุดก็คงเป็นรสชาติของน้ำเบียร์ที่อยู่ภายใน ต่อมาก็คงเป็นความสวยงามของฉลากด้านหน้า ที่ออกแบบได้สวยงามแตกต่างกันไป แต่น้อยคนนักที่จะลองพลิกดูด้านข้าง หรือด้านหลัง ซึ่งเป็นส่วนที่บอกถึงรายละเอียดต่างๆ ของเบียร์ วันนี้เราขอพาเพื่อนๆ ไปพลิกดูหลังขวดหรือกระป๋องเบียร์กันว่า ฉลากเบียร์ให้อะไรเรากับเราบ้าง ว่าแล้วก็ลองเบียร์ข้างๆ ตัวคุณ ขึ้นมาดูตอนนี้เลย เรารับลองว่าคุณจะต้องแปลกใจแน่นอน                   เราขอยกตัวอย่างเบียร์จากสหรัฐอเมริกายี่ห้อ Modern Times เป็นตัวอย่าง เพราะเราเชื่อว่าโรงเบียร์นี้เป็นหนึ่งในโรงเบียร์ที่ใส่รายละเอียดของเบียร์มาอย่างครบถ้วน เรียกว่าจุใจสาย Beer Geek กันเลยทีเดียว แต่เพื่อนๆ ที่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจเดี๋ยวเราอธิบายให้ฟัง                     เริ่มกันที่ด้านหน้า ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่มีชื่อโรงเบียร์, ประเภทของเบียร์, และที่ตั้งของโรงเบียร์นั้นๆ หรือบ้างก็เป็นงานออกแบบอย่างเช่น การ์ตูนน่ารักสดใน หรือภาพวาดรูปปีศาจเสมือนปกอัลบั้มวงร็อกจากยุค 90 อย่าไปตกใจเพราะมันคือศิลปะ J ส่วนสำคัญของด้านหน้าคือประเภทของเบียร์ เพราะมันบ่งบอกถึงสิ่งที่อยู่ภายในว่าสี กลิ่น รสชาติจะไปในทิศทางไหน เช่น เบียร์ตัวนี้เป็นประเภท Pale Ale, IPA, Stout หรือ Imperial Porter  คุณต้องเลือกประเภทให้ถูกกับความต้องการในวันนั้น ว่าอยากดื่มอะไร หรืออย่างลองดื่มอะไรที่ไม่เคยลอง จากภาพตัวอย่าง ฉลากบอกเราว่า “Sour, Barrel-Aged, Gose” มันแปลว่าอะไร ??? มันกำลังบอกเราว่าเบียร์กระป๋องนี้ “เปรี้ยว, บ่มต่อในถังไม้ และเป็นเบียร์สไตล์โบราณของเยอรมัน” ฟังดูอาจจะยากหน่อยสำหรับมือใหม่ แต่ไม่ต้องกังวลไปครับ ติดตามอ่านบทความเราไปเรื่อยๆ รับรองว่าไม่นานคุณเข้าใจถึงความหมายแน่นอน พลิกกลับมาดูด้านหลังอันดับแรกที่เราต้องเห็นอย่างแน่นอนคือเรื่องราวหรือแนวคิดในการผลิตเบียร์นั้นๆ ว่าผู้ผลิตคิดอะไรถึงผลิตเบียร์ตัวนี้ออกมาเราแนะนำให้คุณลองอ่านดูนะครับ เรารับรองว่าคุณจะต้องหลงใหลไปกับเรื่องราวเหล่านี้แน่นอน  ต่อมาคือระดับของแอลกอฮอล์ จะเป็นตัวบ่งบอกระดับความแรงหรือความเมาที่เบียร์ตัวนี้จะมอบให้คุณ ถัดมาคือส่วนผสมโดยมากก็จะเป็นการบอกประเภทของมอลต์ และฮอปส์ที่ใช้ในเบียร์ มันบ่งบอกได้ถึงกลิ่นและรสชาติของเบียร์ได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น การใช้ฮอปส์ที่ต่างกันก็จะส่งผลถึงกลิ่นที่แตกต่างกันไปของเบียร์ และจะสนุกยิ่งขึ้นหากคุณลองเดากลิ่นและรสชาติก่อนดื่มจากส่วนผสม หากคุณทายถูก แสดงว่าคุณได้ข้ามไปสู่อีกขั้นของนักดื่มเบียร์                   ส่วนต่อมาที่เราจะพูดถึงคือ SRM และ  IBU โดยข้อมูลทั้ง 2 ตัวนี้...

Read more

มาจนถึงวันนี้ ผมก็ยังยืนยัน นั่งยัน นอนยันว่า BrewDog Punk IPA เป็นหนึ่งในคราฟท์เบียร์หลายๆตัว ที่ผู้จะเริ่มต้นเข้าสู่โลกแห่งคราฟท์เบียร์ควรได้ลองจริงๆครับ... โรงคราฟท์เบียร์ที่ชื่อว่า BrewDog จากประเทศสก็อตแลนด์นี้ ทำเบียร์ดีๆระดับโลกมาหลายตัว... สำหรับ Punk IPA ก็เป็นตัวหนึ่งในนั้น... ด้วยคะแนนที่ได้ถึง 97 คะแนนจากเว็บ Ratebeer ทำให้ค่อนข้างมั่นใจได้ว่า เบียร์ตัวนี้เป็นเบียร์ดีแน่นอน... แต่ว่า จะดีอย่างไร รายละเอียดเป็นอย่างไรเดี๋ยวเรามาดูกันนะครับ... ดูด้วยตา เมื่อเทออกมาแล้ว เนื้อเบียร์เป็นสีทองอร่าม มีความใสแต่ไม่มาก เพียงแค่พอให้มองทะลุไปด้านหลังลางๆเท่านั้นเอง ฟองก็ขึ้นมาหนาถึงประมาณ 1 นิ้ว ก่อนที่จะค่อยๆสลายไปเหลือเพียงโฟมบางๆเกาะอยู่ด้านหน้าเท่านั้น  ​ ​กลิ่น เมื่อดมกลิ่นดู เบียร์ตัวนี้ให้กลิ่นออกไปทาง ผลไม้ๆ ผสมยางไม้/ต้นสน ครับ... โดยที่มีกลิ่นหนักออกไปทางต้นสนซะเด่น แล้วแซมด้วยกลิ่นผลไม้เมืองร้อนต่างๆเช่น ลิ้นจี่น้อยๆ มะม่วงนิดๆ แล้วก็สับปะรดจางๆ... จัดว่าเป็นเบียร์ในลักษณะที่เรียกว่า Hoppy คือ มีความฮ็อปส์เยอะๆเลยทีเดียว... รสและเนื้อสัมผัส ถึงแม้ว่าเบียร์ตัวนี้จะจัดว่าเป็น IPA แต่ว่าผมกลับไม่ได้รสขมเป็นรสแรกจากการดื่มแฮะ... เมื่อเริ่มจิบ สัมผัสแรกที่ได้คือเนื้อของเบียร์ที่ Full Body มาก... มีเนื้อหนังเต็มปากเลย แต่ไม่หนึด... ความซ่าก็จัดว่าไม่มาก... ในรสของเบียร์นั้น มันมีความเปรี้ยวน้อยๆจนแทบจับไม่ได้ซ่อนอยู่... และเมื่อกลืน ความขมที่ซ่อนอยู่ก็โผล่มาให้ผมได้สัมผัส พร้อมกับกลิ่นของยางฮ็อปส์ที่โผล่ขึ้นมาในขณะที่เราหายใจออกหลังจากกลืนเรียบร้อยแล้ว... ถ้าพิจารณาความขมดีๆ ถึงแม้ว่าในข้อมูลจากเว็บจะบอกว่าความขมอยู่ที่ 45 IBU แต่สำหรับผมแล้วจัดว่าไม่ขมมากนะ... เป็นขมพอดีๆ สำหรับคนที่กำลังหัดดื่มคราฟท์สาย IPAสามารถดื่มได้... รสขมมาแล้วมาเลย ก็ผ่านไป ไม่ติดลิ้น... ทิ้ง Aftertaste ออกประมาณข้าวเปลือกไว้ในปาก... สรุปโดยรวม อร่อย ครับ... ผมว่านี่น่าจะจัดเป็นมาตรฐานสำหรับเบียร์ในสไตล์ IPA ได้เลย... ค่อนข้าง Balance เลยทีเดียว... กลิ่นที่หอมพอดีไม่ฉุนเกินไป... ความขมที่ไม่ได้โดดมากจนกลืนยาก... รสชาติของเบียร์ที่ดื่แล้วทำให้อยากดื่มอีก... ผมอยากจะสรุปอย่างเช่นที่ผมเคยได้ยินมาจากเพื่อนรุ่นพี่ชาวเบียร์ว่า Punk IPA คือ "เบียร์สามัญประจำตู้เย็น" ครับ... 

Read more

เราเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “Lambic” หรือ “เบียร์เปรี้ยว” กันมาบ้าง และเราก็เชื่อว่ามีเพื่อนๆหลายคนยังคงสงสัยว่ามันคือเบียร์ประเทศไหน ?? ทำไมถึงเปรี้ยว?? มันใช่เบียร์ผลไม้มั้ย?? หรือมันคือเบียร์เสีย ?? วันนี้เราจะมาเล่าเรื่องของ “เบียร์เปรี้ยว” แบบง่ายให้เพื่อนๆ ฟังกันดีกว่า                   “Lambic” หรือ “เบียร์เปรี้ยว” เริ่มต้นที่ไหนนั้นยากที่จะระบุ แต่เมืองที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นเมืองหลวงของเบียร์ Lambic คือ Brussels, Belgium เนื่องจากที่เมืองนี้มีโรงเบียร์ที่มีชื่อเสียงด้านการทำเบียร์ Lambic อย่าง Cantillon Brewery ที่มีประวัติในการทำเบียร์มากว่า 100 ปี โดยเบียร์ที่ผลิตจากโรงเบียร์นี้กลายเป็นของหายากและมีราคาแพงเรือนแสนอีกด้วย                   ทำไมเบียร์ขวดนึงถึงได้แพงขนาดนั้น ?? นั้นเป็นเพราะขั้นตอนในการผลิตมันช่างแสนยากลำบาก ยิ่งไปกว่านั้นในแต่ละปี อาจได้ผลผลิตที่แตกต่างกันแม้ว่าจะใช้ส่วนผสมเท่าเดิมก็ตาม ไม่ต่างอะไรกับไวน์เก่าเก็บ นั้นก็เพราะส่วนประกอบสำคัญที่ไม่สามารถควบคุมได้อย่าง “ยีสต์” นั้นเอง                   การผลิตเบียร์ Lambic นั้นนิยมผลิตในช่วงเดือนตุลาคม – มีนาคม เนื่องจากเป็นช่วงหน้าหนาว เพราะหัวใจสำคัญของเบียร์ Lambic นั้นก็คือยีสต์ที่อยู่ในอากาศในพื้นที่นั้นๆ เมื่อเข้าสู่ช่วงหน้าหนาวแบคทีเรีย รา และเชื้ออื่นๆจะลดน้อยลง  โดยยีสต์ที่จะมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตเบียร์โดยเจ้ายีสต์ที่ว่านั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์หลักๆ คือ      Brettanomyces นิยมใช้กับเบียร์ประเภท Brett Ales, wood/barrel-aged ales, Gose, Bière de Garde, Lambic, Gueuze, Flanders, Old Ale      Lactobacillus นิยมใช้กับเบียร์ประเภท Berliner weisse, Flanders beers, saison      Pediococcus นิยมใช้กับเบียร์ประเภท lambic and gueuze      Acetobactor นิยมใช้กับเบียร์ประเภท lambic, Flanders red, and wood-aged beers...

Read more

ปกติส่วนตัวเป็นคนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อยู่แล้วโดยเฉพาะเบียร์ เวลาได้ไปญี่ปุ่นก็มันจะลองไปเรื่อยๆ ที่นี้ได้ไปรู้อะไรอย่างหนึ่งว่าเขามีเครื่องดื่มที่ทำเลียนแบบเบียร์ขึ้นมา เราก็เลยสนใจขึ้นมาเกริ่นคร่าวๆ เกี่ยวกับ Happoshu ซักเล็กน้อย มันเป็นเครื่องดื่มที่ทำเลียนแบบเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ขึ้นมา แต่ลดปริมาณมอลท์ลงให้ตํ่ากว่าที่กฏหมายกำหนด เพื่อจะได้ไม่นับเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และทำให้ภาษีถูกลง โดยส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นเบียร์ ซึ่งก็มีออกมาหลายแบรนด์มาก สรุปคือเมาแบบราคาถูกนี่แหละ ตัวที่ได้ลองไปเป็นของคิรินที่มีชื่อว่า Nodogoshi-nama ที่ไม่ใช้มอลท์เลยแม้แต่นิดเดียว แต่ใช้โปรตีนถั่วเหลืองแทน ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทำอีท่าไหนถึงทำออกมาได้ ซึ่งเบียร์ที่ไม่มีมอลท์เลยเขาจะเรียกว่า Dai san no biru ราคามันก็เลยถูก ไม่ต่างจากนํ้าอัดลมกระป๋องเลย จากนั้นก็เปิดชิมปุ๊ป โอ้ แม่ รสชาติเหียกมาก 5555 ต่อให้สิ้นไร้ไม้ตอกยังไงก็จะไม่ยอมเมากับไอ้เบียร์เหียกนี่เด็ดขาด และก็สำนึกได้ว่า จ่ายแพงกว่าไปกินเบียร์ปกติเถอะนะ  Source: http://popura.namjai.cc/e186071.html

Read more

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.