ไข 5 ข้อสงสัยของ “สาเก” เหล้าดังจากแดนอาทิตย์อุทัย
เชื่อว่าทุก ๆ คนล้วนเคยผ่านประสบการณ์ในการดูหนังญี่ปุ่น(ทั่วๆไป)แล้วได้เห็นฉากที่พระนางหรือตัวประกอบซักตัวนั่งบนเบาะรองนั่งพร้อมโต๊ะญี่ปุ่นและยกแก้วขนาดเล็กๆ มากระดกอย่างชื่นมื่น แต่เพราะฉากนี้เองที่ทำให้หลาย ๆ คนเริ่มสงสัยในตัวเครื่องดื่มชนิดนี้แล้วคิดกันไปเองต่าง ๆ นานา ว่ามันคืออะไร มีความเป็นมาอย่างไร
วันนี้เราจะมาไขปัญหาคาใจของใครหลาย ๆ คนเกี่ยวกับสาเก ซึ่งเป็นเครื่องดื่มประจำชาติของญี่ปุ่นอย่างที่เรา ๆ เข้าใจกัน แต่ต้องบอกไว้ก่อนเลยว่าสำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว พวกเขาจะเรียกเครื่องดื่มนี้ว่า SEISHU แต่เป็นเพราะ“สาเก”มาจากคำว่า SAKE(酒) ซึ่งแปลว่าเหล้าในภาษาญี่ปุ่น ชาวต่างชาติจึงเข้าใจผิดและเรียกติดปากกันไปนั่นเอง
1.) สาเกแท้จริงแล้วคืออะไร?
ถ้าจะให้อธิบายง่าย ๆ สาเก(หรืออีกชื่อนึงคือไวน์ข้าว) คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทำจากข้าว น้ำ และกล้าเชื้อสำหรับหมักที่เรียกว่า โคจิ(KOJI) ซึ่งกระบวนการหมักเริ่มต้นจากการนำข้าวมาสีเปลือกนอกออกให้เหลือแต่เนื้อใน โดยจะต้องสีข้าวออกให้เหลือแค่เนื้อข้าวที่มีคุณภาพ แล้วจึงค่อยนำมาหุงสุกแล้วเข้ากระบวนการหมัก แต่ความพิเศษของสาเกนั้น อีกส่วนหนึ่งมาจากน้ำที่ใช้ในการหมัก เนื่องจากคนญี่ปุ่นใช้น้ำที่มีแร่ธาตุสูงในกระบวนการผลิตสาเก จึงทำให้รสชาติของสาเกเป็นเอกลักษณ์กว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นนั่นเอง
2.) สาเกถูกนำมากินคู่กับอะไร?
สำหรับนักดื่มเมืองไทยแล้ว ส่วนใหญ่เหล้าเป็นเพียงเครื่องดื่มที่ถูกนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสดชื่นหรือดื่มเพื่อเฉลิมฉลองเพียงอย่างเดียว (ดื่มให้เมา เอาฮา ลืมความดราม่า ก็ว่าไป ฯลฯ) จึงมีคนสงสัยว่า แล้วสาเกล่ะ คนญี่ปุ่นเค้าดื่มคู่กับอะไรหรือไม่? คำตอบก็คือ จริงๆแล้ว สาเกสามารถดื่มคู่กับอาหารชนิดใดก็ได้ แต่เพราะสาเกนั้นมีรสชาติที่นุ่มลิ้นกว่าไวน์ จึงเป็นเหตุให้คนญี่ปุ่นนิยมดื่มสาเกคู่กับอาหารหลายชนิดเช่น ซูชิ ปลา หรืออาหารทะเลอื่น ๆ และบ่อยครั้งก็ถูกนำมาดื่มควบคู่กับเมนูเนื้ออีกด้วย
3.) สาเกมีราคาแพงมาก ใช่หรือไม่?
เท่าที่เราสังเกตจากหนังเรื่องเดิมจะเห็นว่าคนทุกชนชั้นก็ล้วนดื่มสาเก ดังนั้นถ้าพูดในเรื่องของราคา หลายคนอาจคิดว่าต้องอยู่ในระดับที่คนทุกชนชั้นสามารถซื้อได้ แต่ความคิดนี้ก็ยังไม่ถูกต้อง100%หรอกนะ เพราะราคาของสาเกแท้จริงแล้วก็ไม่ต่างจากเหล้าทั่ว ๆ ไปคือมีหลายเกรด ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวที่ผ่านการสีซึ่งนำมาเข้ากระบวนการหมัก คุณภาพของกล้าเชื้อที่นำมาใช้หมัก ตลอดจนความเป็นที่รู้จักของแบรนด์ก็มีส่วนเกี่ยวข้องเช่นกัน
4.) สาเกเมื่อดื่มแล้ว เขาว่าไม่แฮงค์ ใช่หรือไม่?
หนึ่งข้อเท็จจริงที่ควรรู้คือไม่ว่าจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดใด ถ้าหากดื่มมากไป ก็อาจทำให้เกิดอาการแฮงค์ (HANGOVER) ในเช้าวันถัดมาได้ เพราะอาการแฮงค์ หรือที่เรียกว่าเมาค้าง เกิดจากการที่แอลกอฮอล์ที่เข้าไปในร่างกาย แล้วทำให้สมองของเราหยุดการหลั่งฮอร์โมนวาโซเพรสซิน (VASOPRESSIN) ซึ่งมีหน้าที่ในการกักรักษาน้ำไว้ในร่างกาย นั่นจึงเป็นเหตุให้เราเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าปกติตอนดื่มหนัก ๆ แต่ในกรณีของสาเกคือเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำแร่คุณภาพดีเป็นส่วนผสมมาก(ถึง 80%) และทั้งนี้เพราะการดื่มสาเกไม่ได้ลดอุณหภูมิร่างกายเหมือนกับการดื่มไวน์หรือเบียร์อีกด้วย
5.) สาเกเมื่อดื่มแล้วผิวจะดี เป็นความจริงมั้ย?
จะว่าไปก็เหมือนเป็นเรื่องหลอกเด็กซะมากกว่า ทำไมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึงดีต่อผิวของเราได้? แต่ก็นะ เรื่องมหัศจรรย์มีอยู่จริง เพราะในสาเกมีกรดอมิโนอยู่หลายชนิดที่ดีต่อผิว อีกทั้งมีน้ำซึ่งมีแร่ธาตุสูงเป็นปริมาณมาก การดื่มสาเกจึงอาจมีผลให้ผิวพรรณของเราดีขึ้น อีกทั้งยังมีตำนานว่าไว้ว่า ในอดีต สาเกถือเป็นหนึ่งในเคล็ดลับความงามของเกอิชาอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ใช่ว่าสาเกทุกแบรนด์จะสามารถให้ในจุดนี้ได้ อย่าลืมว่าคุณภาพก็ขึ้นอยู่กับเกรด ดังนั้นความพรีเมี่ยมของสาเกที่ดื่มนั้นก็สำคัญเช่นกัน
หลังจากไขข้อสงสัยทั้ง 5 ไปเรียบร้อยแล้ว ก็หวังว่าผู้อ่านทุกคนจะได้รู้จักกับสาเก เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่โด่งดังของชาวญี่ปุ่นที่ชื่อคุ้นหูเราดีขึ้น ใครจะไปรู้ว่าบางครั้งประโยชน์ก็แฝงมาในเหล้าที่เราชอบดื่มด่ำกัน สำหรับใครหลายคนที่เบื่อหน่ายกับอาการแฮงค์ สาเก อาจจะเป็นคำตอบที่หัวใจคุณเรียกร้อง ก็เป็นได้
อ้างอิงข้อมูลจาก www.forbes.com
what is clonidine
do you need a prescription for hydroxychloroquine buy aralen hydroxychloroquine malaria
tadalafil generic
what is tadalafil tablet tadalafil cost walmart elevex 20 mg
france soir
is chloroquine available over the counter hydroxychloroquine sulfate tabs chloroguine
tadalafil tablets
sildenafil versus tadalafil how long does tadalafil last side effects for tadalafil
tadalafil tablets
tadalafil online with out prescription tadalafil brands side effects of tadalafil