Beer RSS
Vegetarian Festival & Beer Pairing
เรื่องจริงเกี่ยวกับ“เบียร์ดำ”แบบสเตาท์
เมื่อเอ่ยคำว่าเบียร์ดำ แต่ละคนก็จะมีภาพในใจที่แตกต่างกันไป สำหรับชาวคราฟต์เบียร์ทั้งหลายก็คงรู้จักคุ้นเคยกับ “เบียร์ดำ” กันมากพอตัวและคงมีเจ้าประจำในใจมากมายหลายอย่างหลากสไตล์ชนิดที่นำมาสาธยายกันได้เป็นชั่วโมง ส่วนคอเบียร์นอกที่ตระเวนไปตามผับไอริชอยู่บ่อยๆ ก็อาจเห็นเป็นภาพเบียร์สเตาท์ยี่ห้อกินเนส(Guinness)สีดำสนิทที่ตัดกันกับโฟมฟองเนียนกริบขึ้นมาในใจทันที แต่ถ้าเป็นนักดื่มรุ่นโบราณที่ดื่มเป็นครั้งคราวสักหน่อยก็คงย้อนไปนึกถึงเบียร์แบลคไทเกอร์ ไม่ก็เบียร์คอหมาสเตาท์ และเบียร์ดำอมฤตอันโด่งดังในยุค 90 โน่นเลย ภาพจาก : vinepair.com ไม่ว่าภาพเบียร์ดำในใจของแต่ละคนจะหน้าตาแบบไหน เราขอย้ำไว้เป็นอย่างแรกเลยว่าเบียร์ดำไม่ได้มีแค่แบบสเตาท์ (Stout) เท่านั้นนะ! เบียร์แบบลาเกอร์ (Lager) ที่เราเจอกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็มีเวอร์ชั่นสีเข้มๆ ดำๆ กับเขาได้เหมือนกัน เพราะประเด็นคือการใช้มอลต์และเมล็ดธัญพืชแบบต่างๆ (เช่น บาร์เลย์) ที่คั่วเข้มไปจนถึงเข้มจัดมาแต่งแต้มในสูตรเบียร์ไงล่ะ ซึ่งแต่ละตำรับก็มีชื่อเสียงเรียงนามแตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม วันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องความเข้าใจผิดๆ ที่ได้ยินบ่อยเหลือเกินเกี่ยวกับเบียร์ดำแบบสเตาท์เท่านั้นเพราะเราคิดว่าน่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่จะใช้มันเป็นจุดอ้างอิง มันชัดเจน พบได้บ่อย และดังนั้นเองจึงถูกเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ ส่วนเบียร์สีดำๆ แบบอื่นที่พูดถึงนั้น ไว้คราวหลังจะมาเล่าให้ฟังอีกที เอาล่ะ! ถ้าจบตอนนี้แล้วขืนคุณยังเข้าใจคลาดเคลื่อนในเรื่องเดิมอยู่อีก แค่คำว่า “เชย” ก็อาจจะเชยเกินไป เรื่องจริงประการที่ 1 : สเตาท์ไม่ได้ดำมาตั้งแต่เกิด ในยุคแรก การใช้คำว่าสเตาท์เรียกเบียร์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น เป็นไปเพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเบียร์ตัวแรงเท่านั้น ดังนั้นในช่วงศตวรรษที่ 18 เราจึงพบว่ามีการค้าขายสเตาท์สีน้ำตาล (Brown Stout) และสเตาท์สีจาง (Pale Stout) กันอยู่เลย แต่คำๆ นี้ก็ได้ก้าวเข้าสู่ด้านมืดอย่างเต็มตัวเมื่ออุตสาหกรรมการผลิตเบียร์ในสหราชอาณาจักรได้หันมานิยมทำเบียร์เลียนแบบเบียร์ผสมที่กำลังได้รับความนิยมตามผับบาร์ในลอนดอน ซึ่งเรียกกันว่า พอร์เตอร์ (Porter) จนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “พอร์เตอร์สเตาท์” ซึ่งขยายตลาดออกไปมากขึ้น และในเวลาต่อมาผู้คนก็พากันกร่อนคำให้สั้นลง เหลือเพียงคำว่าสเตาท์เท่านั้น เรื่องจริงประการที่ 2 : สเตาท์ไม่ใช่เบียร์ที่แรงแซงหน้าใครต่อใครเพียงเพราะเป็นสีดำ ในหลายๆ สังคมของมนุษย์ สีดำสื่อถึงความดุดันแข็งแกร่ง และของกินหลายอย่างที่สีคล้ำหรือดำก็มักจะมีรสเข้มข้นและออกขม นั่นทำให้เราอดคิดไม่ได้ว่าเบียร์แบบสเตาท์จะต้องมีดีกรีหนักหน่วงแน่นอน อันที่จริงเรื่องสีและความแรงของแอลกอฮอล์ในเบียร์นั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกันมากนัก คุณลองดูตัวอย่างเช่นเบียร์แบบไวเซ่นของไวเฮนชเตฟานเนอร์ (Weihenstephaner) ดูก็ได้ว่า เบียร์สีนวลอ่อนแบบนั้น มีดีกรีอยู่ที่ 5.4% ABV ในขณะที่ดีกรีของเบียร์สีดำทึบยี่ห้อดังอย่างกินเนส กลับวิ่งลงมาที่ 4.2% ABV เท่านั้นเอง (และนั่นแปลว่าทั้งคู่ก็เบากว่าเบียร์ช้างสีอำพันใสๆ เสียอีก) ภาพจาก : brewbrothers.biz ...
รีวิว Weihenstephaner Vitus
Weihenstephaner Vitus AVB 7.7% Vol / 500Ml German วันนี้จะมาชิมโคตรเบียร์ตัวหนึ่งของโลกกับ Weihenstephaner Vitus จากโรงเบียร์ที่ถือว่าเก่าแก่ที่สุดในโลก ตัวนี้มาในสไตล์ weizenbock avb 7.7% ที่ว่ากันว่าในสายเบียร์นี้ หาตัวที่เทียบชั้นกับ Vitus ได้ยากนัก ถือเป็นเบียร์ที่กวาดรางวัลในสาขา Weizenbock มาแล้วหลายสมัยด้วยกัน การันตีคุณภาพสุดๆ เทเบียร์มาเป็นสีเหลืองขุ่น ก่อฟองสีขาวนวลหนานุ่ม เกาะขอบแก้วได้ค่อนข้างนาน กลิ่นมาตามแบบฉบับไวเซ่น เป็นกลิ่นกล้วย กลิ่นขนมปัง แอบซ่อนกลิ่นแอลกอฮอล์ไว้ช่วงท้าย รสชาติสมราคารางวัลการันตี เข้มข้นเต็มปากเต็มคำ แรกเริ่มเป็นรสหวานๆสไตล์วีทเบียร์ ก่อนจะตามด้วยสัมผัสเครื่องเทศน์และรสแบบกล้วยหอมสุก และเป็นสัมผัสแอลกอฮอล์ตอนท้าย บอดี้ฟูลความซ่ากำลังดี เป็นเบียร์ที่รสชาติกลมมาก คือผสานทุกอย่างมาอย่างลงตัว บาลานซ์ดีมาก เป็นรสหวานปนขมที่หนักแน่น แถมสัมผัสแอลกอฮอล์ให้รู้สึกอุ่นๆอยู่ในคอ แต่เห็นหวานๆอร่อยๆแบบนี้ ดื่มเพลินไประวังเมาไม่รู้เรื่อง เพราะระดับแอลกอฮอล์ 7.7% ก็ถือว่าไม่ธรรมดาเช่นกัน ถือเป็นเบียร์ตัวนึงที่ควรหามาชิมสักครั้งในชีวิตเลยละ
18 เบียร์แนวหน้าที่ควรลิ้มลอง (ติดเรท 95+)
ภาพจาก Homehops จะว่าไปแล้วก็เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมยินดีไม่น้อยทุกวันนี้ในประเทศไทยมีเบียร์มากมายให้ลิ้มลองสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป แต่บ่อยครั้งสำหรับบางคนแล้วจำนวนฉลากที่มากมายขึ้นทุกทีก็สร้างความสับสนได้มากจนถึงกับไม่กล้าแม้แต่จะลองเริ่มชิมเอาเลย ถ้าปัญหาของคุณเป็นไปในลักษณะที่ว่ามา วันนี้เราจะมาเสนอทางออกแบบหนึ่งที่พอจะช่วยบรรเทาความหนักใจได้พอสมควร ทางออกที่ว่าก็คือให้พุ่งตรงไปหาเบียร์ติดเรทตัวพ่อตัวแม่เสียเลยไงล่ะ เช่นเดียวกันกับแทบทุกอย่างในสังคมโลก เบียร์เองก็มีการจัดอันดับจากสถาบันต่างๆ ในหลายระดับด้วยกันซึ่งหนึ่งในแหล่งของการลงคะแนนและจัดอันดับที่ถือได้ว่าทั้งเข้มข้นและเปิดกว้างที่สุดสำหรับคอเบียร์ทั่วโลกนั้นเป็นเว็บไซต์ที่ชื่อว่า Ratebeer.com ภาพจาก Ratebeer เว็บไซต์เรทเบียร์เป็นพื้นที่ออนไลน์ที่ก่อตั้งโดยนาย Bill Buchanan ในปี ค.ศ. 2000 ก่อนที่จะมีทีมงานเข้ามาสมทบมากขึ้นและในที่สุดได้กลายเป็นเว็บไซต์ขนาดใหญ่สำหรับให้ผู้คนมาแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสารพันเบียร์ทั่วโลก โดยปัจจุบันมีการลงคะแนนถึง 4.5 ล้านชุด ให้กับเบียร์จำนวนกว่า 200,000 ฉลาก จากโรงเบียร์กว่า 16,000 แห่งแล้ว ในที่นี้คงเป็นไปได้ยากยิ่งที่จะนำเอาเบียร์ทุกฉลากมานำเสนอ เนื่องจากสาเหตุสำคัญเลยก็คือประเทศไทยยังไม่ได้มีเบียร์ทุกยี่ห้อที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์เรทเบียร์นี้ และถึงจะมีครบก็คงจะต้องร่ายยาวกันเป็นเล่มๆ จนจำไม่ไหว เราจึงคัดเลือกอย่างค่อนข้างตามอำเภอใจตามความชื่นชอบ(ดังนั้นเราจึงใส่ความรู้สึกส่วนตัวลงไปบ้างในคำบรรยาย) อย่างไรก็ตาม เราก็ยังมุ่งให้เกิดประโยชน์ต่อนักดื่มโดยให้ความสนใจไปยังยี่ห้อที่มีวางขายในร้านค้าชั้นนำในบ้านเรา(และยังคงมีพร้อมจำหน่ายในขณะที่เขียนนี้) เช่น ร้าน Wishbeer ซึ่งจัดว่ามีเบียร์ให้เลือกสรรอย่างมากมายที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศทั้งนี้ เราจะไม่นำเสนอในลักษณะของการจัดอันดับ แต่เราจะกล่าวถึงเบียร์ที่ได้รับคะแนนสูงลิ่ว คือ ตั้งแต่ 95 ขึ้นไปจากคะแนนเต็ม 100และจากโรงเบียร์ละ 1-2 ฉลากเท่านั้น เพื่อความหลากหลายที่คุณอาจจะได้ลิ้มลอง ซึ่งจะไล่เรียงไปตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษของชื่อผู้ผลิต เอาล่ะ! มาดูกันเลย Anderson Valley Hop Ottin’ IPA | Anderson Valley Brewing Company | 7% ABV | IPA overall 95 94 style เบียร์ไอพีเอสไตล์อเมริกันฝั่งตะวันตกสีอำพันเข้ม ส่งกลิ่นจัดจ้านอัดแน่นไปด้วยดอกฮอปส์สายพันธุ์ Cascade และ Columbus ซึ่งส่งกลิ่นหอมคล้ายผลไม้รสเปรี้ยวคล้ายเกรปฟรุ้ตและใบสน เจือด้วยกลิ่นสมุนไพรอื่นๆ ในตอนท้าย รสกลมกล่อมด้วยมอลต์ที่หนักแน่น Bear Republic Racer 5 | Bear Republic Brewing Company | 7.5%...
รีวิวเบียร์ Lion Stout
Lion Stout Abv 8.8% Vol / 500Ml Sri Lanka Lion Stout เบียร์สิงโตจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ใกล้ไม่ไกลเราเกินไปอย่างศรีลังกา เห็นชื่อประเทศแล้วอย่าดูถูกเชียว เพราะเจ้า Lion Stout นี้พกดีกรีรางวัลมาแล้วมากมาย แถมบรรดานักรีวิวยังให้คะแนนเจ้าสิงโตตัวนี้ในระดับสูงอีกด้วย เทเบียร์มาเป็นสีดำสนิททึบแสงตามแบบฉบับ Stout ฟองพรายสีน้ำตาลอ่อนๆ ยุบตัวค่อนข้างเร็ว ลองดมกลิ่น แรกสุดเป็นกลิ่นดาร์กช็อคโกแลตเข้มข้น ผสมกับกลิ่นคาราเมลหวานหอมอวลๆ กลิ่นวานิลลา มีกลิ่นคั่วๆไหม้ๆเล็กน้อย แทรกด้วยกลิ่นเครื่องเทศน์และแอลกอฮอล์ตอนท้าย ลองชิมรสชาติเหมือนๆกับกลิ่น เป็นรสหวานปนขมแบบดาร์กช็อคโกแลตผสมกับขมแบบคั่วไหม้มาก่อนตอนแรก ก่อนจะคลายกลิ่นหอมๆของวานิลลาออกมา กลิ่นแบบดินๆ ธรรมชาติๆ Aftertaste ทิ้งรสขมช็อคโกแลตติดลิ้นไว้ บอดี้กลางๆ ไม่ถึงกับฟูล ช่วยทำให้กินง่ายขึ้น รสชาติกลมกล่อมลงตัว ไม่บอกไม่รู้ด้วยซ้ำว่า abv สูงถึง 8.8% เพราะซ่อนสัมผัสได้ดีมาก เป็น Stout ที่ดีไม่แพ้เบียร์ของยุโรปทีเดียว แต่ราคาย่อมเยากว่ากันเยอะขา Stout ห้ามพลาดทีเดียวตัวนี้