เบียร์ “ลำซิ่ง” มาแล้ว เป็นตาออนซอนแท้!

เบียร์ “ลำซิ่ง” มาแล้ว เป็นตาออนซอนแท้!

ไม่นานมานี้คอเบียร์หลายคนคงได้เคยมีโอกาสลิ้มลองฝีไม้ลายมือของเบียร์ Stone Head กันมาแล้ว ในวันนี้“คุณฟาง”หนึ่งในผู้ก่อตั้งคนสำคัญก็ได้กลับมาพร้อมกับอีก 1 แบรนด์ ซึ่งเป็นผลงานชุดใหม่คือ “เบียร์ลำซิ่ง” และพวกเราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขามาแบบสดๆ ร้อนๆ กำลังอร่อยเลยล่ะ ต่อไปนี้คือบทสัมภาษณ์ที่คุณฟางสละเวลาอันมีค่าให้กับพวกเราทุกคน ขอเชิญทุกท่านติดตามได้เลย

 

ความเคลื่อนไหว

1 ปีที่ผ่านมา มันเป็นระยะของคนทำคราฟต์เบียร์ไทยผิดกฎหมายที่อยากให้ประชาชนหรือผู้บริโภคทราบว่ามีคราฟต์เบียร์อยู่บนโลกนี้ และคนไทยก็ทำได้ด้วย อันที่จริงก็เป็น 3 ปีแรกเลย ตั้งแต่ที่เริ่มมีคนทำคราฟต์เบียร์ขึ้นครั้งแรกในไทย ซึ่งก็คือพี่ชิต(ชิตเบียร์) จากนั้นก็มีแนวร่วมขึ้นเรื่อยๆ และผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น จนวันหนึ่งที่ตัดสินใจออกจากงานเพื่อมาทำ Stone Head ที่กัมพูชาเพื่อจะเพิ่มคราฟต์เบียร์ในไทย และวางแผนให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นเพราะตอนนั้นก็ถูกกฎหมายแล้ว แต่ปรากฏว่าเมื่อ Stone Head เปิดขึ้นมา กลับต้องใช้เวลามากกว่าที่คิดในการจะใช้โรงต้มนี้ผลิตเบียร์ให้เจ้าอื่นๆ ผมจึงเลือกใช้วิธีการใหม่ คือพาหลายๆ แบรนด์ไปผลิตที่ต่างประเทศในโรงเบียร์ที่เป็นมืออาชีพและก็ใช้โมเดลเดียวกัน คือผลิตและนำเข้าในนามเบียร์คนไทย ตอนนี้พวกเราก็รวมตัวกันได้ 3 แบรนด์ คือ Sandport, มหานคร และลำซิ่ง ในกลุ่มชื่อ “ขบวนการเสรีเบียร์”

 

 

ทีนี้ผมมองว่าในระยะที่เรามาถึงตอนนี้เริ่มมีคนฟังเราแล้ว เราจะเริ่มอธิบายว่า “เราทำเพื่ออะไร” “ทำไมเราจึงต้องทำให้คราฟต์เบียร์ไทยถูกกฎหมาย” สำหรับเรื่องนี้ผมมองว่าการห้ามทำคราฟต์เบียร์เป็น 1 ในสัญลักษณ์ของอะไรบางอย่างที่ทำให้ประเทศเราไม่พัฒนาไปข้างหน้า คือมีกฎแปลกๆ ที่ไม่มีคำตอบและไม่มีใครรับฟังเรา ไม่มีใครพูดคุยกันว่าจะทำอย่างไรให้ดีขึ้นในทางที่น่าจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่าย คือมีการห้ามผลิตเบียร์บรรจุภาชนะไปจำหน่ายที่อื่นเป็นการทั่วไปในสเกลเล็ก ในขณะที่เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นสามารถทำได้ สิ่งนี้เองเป็น 1 ในสัญลักษณ์ที่ผมคิดว่าควรจะถูกตั้งคำถาม เพราะเบียร์เป็นสินค้าที่มีคนบริโภคเยอะ ผมเชื่อว่าก็น่าจะแปลว่ามีคนฟังเยอะ นี่เป็นที่มาของขบวนการเสรีเบียร์

 

สำหรับ “ลำซิ่ง” นั้น เราทำขึ้นมาเพื่อให้ได้เรียนรู้ด้วยตัวเองว่ากระบวนการที่จ้างคนอื่นผลิต แบบที่เราเอาสูตรไปและควบคุมการผลิตเองนั้นต้องเผชิญกับอะไรบ้าง เราจะได้เอาข้อมูลเหล่านี้มาถ่ายทอดแบ่งให้กับแบรนด์อื่นๆ ที่อยากมีเบียร์ของตัวเองที่ถูกกฎหมาย โดยตัวแบรนด์ลำซิ่งนี้ผมอยากทดลองอะไรใหม่ๆ เพราะว่าแบรนด์แรก (Stone Head) ก็ใช้ชื่อภาษาอังกฤษและเป็นเบียร์ที่ไม่ได้หลุดกรอบมากนัก ตอนนี้ผมก็อยากผลักดันเบียร์ที่ใช้ชื่อไทยและเป็นเบียร์ที่ยังไม่มีใครทำมาก่อนเท่าที่ผมเห็นมา ไอเดียหนึ่งที่ได้มาตอนไปออกบูธที่สิงคโปร์ก็คือรีวิวที่ลูกค้าคนหนึ่งบอกว่าเบียร์แบบนี้เหมือนเบียร์ค็อกเทล ซึ่งผมคิดว่าเป็นนิยามที่ใช้ได้เลยคือเราใช้แนวทางแบบเครื่องดื่มค็อกเทลคือมีหลายๆ อย่างรวมกัน แต่ยังให้อยู่บนพื้นฐานของน้ำเบียร์เพื่อให้เกิดความน่าสนใจขึ้น โดยที่ยังรักษามาตรฐานความเป็นเบียร์ไว้ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจนกลายเป็นเบียร์เติมน้ำเชื่อมหรือปรุงแต่งไปจนพัง คือยังพูดได้อย่างภูมิใจว่าเป็นคราฟต์เบียร์อยู่ เราอยากทดลองแนวคิดหลายๆ อย่างกับแบรนด์นี้ครับ

 

ขบวนการเสรีเบียร์

 

เริ่มต้นมาจากสภาวะที่ว่าเหล้าเบียร์ทุกอย่างถูกจำกัดควบคุม เช่น การเก็บภาษีสูงมาก การห้ามโฆษณาและอีกหลายอย่าง ทั้งที่วิทยาศาสตร์ก็บอกอยู่แล้วว่าการบริโภคแต่พอดีนั้นไม่เป็นอันตราย และสำหรับอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากเราบริโภคมากไปทั้งต่อตัวเราและสังคมนั้นก็มีหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานได้อย่างดีเยี่ยมคอยให้ข้อมูลอยู่แล้ว จุดยืนของผมจึงมีอยู่ว่าน่าจะปล่อยให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้เองแล้วว่าเขาจะดื่มหรือไม่ ปริมาณมากน้อยเพียงใด ที่พูดเรื่องนี้เพราะผมมองว่าแม้เหล้าเบียร์นั้นก็ไม่ใช่ว่าเป็นของดีเสียทีเดียวแต่ถูกจำกัดควบคุมอย่างหนักมากในขณะเดียวกันมีตัวอย่างที่ผมยกขึ้นมาบ่อยๆ อย่างการประมูลทะเบียนรถซึ่งเราจะเห็นโฆษณาอยู่ตามป้ายข้างทางทั่วไปเลยว่าเลขชุดนี้ใช้แล้วรวยนะ ใช้แล้วดีนะ หรือหนักหน่อยก็บอกกันว่าเป็นเลขปลุกเสกโดยหลวงพ่อเกจิดังไปเลย คือในขณะที่สิ่งที่เป็นความเชื่อส่วนบุคคลซึ่งไม่ได้จริงแท้ไปทั้งหมดเหล่านี้ได้รับอนุญาตให้พูดถึงและป่าวประกาศได้อย่างเปิดเผยตลอดเวลา แต่เรากลับแทบไม่สามารถพูดถึงเรื่องเหล้าเบียร์ซึ่งเป็นของที่ผู้คนบริโภคและไม่ผิดกฎหมายได้เลย ผมมองว่านี่เป็นปัญหา คือเราไม่ได้เคารพและศรัทธาประชาชนหรือผู้บริโภคกันแล้ว นี่พูดถึงตัวอย่างเพียงแค่เรื่องสื่อ เรื่องที่ว่าให้พูดหรือไม่ให้พูดอะไรแค่เรื่องเดียวนะครับ ซึ่งถ้าแก้ไขได้ สิ่งนี้ก็จะชวนคนคิดชวนคนถามในเรื่องอื่นๆ ต่อไปอีก เหล่านี้คือสิ่งที่เราพยายามจะทำ แต่ว่าตอนนี้กติกาทั้งหมดทั้งปวงเขาเป็นอย่างไร เราก็ทำตามทั้งสิ้นครับ เราเคารพในกติกาและความเป็นสังคมอยู่ แค่เพียงทำในสิ่งที่เราเชื่อเพื่อเป้าหมายของเรา

 

คราฟต์เบียร์ไทย

 

 

คราฟต์เบียร์ไทยในปัจจุบันนั้น ถ้าเรานับประเภทโฮมบรูว์ก็อาจได้อยู่ประมาณ 70-80 ราย ซึ่งก็ทำเบียร์ดื่มเอง แบ่งกันชิม และอาจจำหน่ายบ้างเล็กน้อยเพื่อทดลองแนวคิด กลุ่มนี้ยังไม่ถูกกฎหมายครับ แต่สิ่งที่แสดงออกก็คือแม้ว่าจะมีปริมาณไม่มากไม่น้อย พวกเขาก็ทำให้เห็นว่ามีคนที่สนุกกับการได้ลงมือทำได้ดื่มเบียร์ที่แตกต่าง คือทางเลือกใหม่ๆ นั้นเป็นเรื่องที่ดีครับ เป็นสิ่งที่พวกเขาต้องการ

สำหรับคราฟต์เบียร์ไทยที่ถูกกฎหมายอย่าง “ชาละวัน” ที่ไปได้รางวัลเหรียญทองมาในปีนี้ ผมก็คิดว่าเป็นเรื่องที่ดี คนดื่มเบียร์ก็จะรู้สึกตื่นเต้นดีใจว่าเราก็ทำได้นะ และฉุกคิดว่าทำไมถึงไม่ค่อยมีใครทำขึ้นมา ซึ่งจะได้พบว่ามันมีปัญหาเรื่องกฎกติกาอยู่ และหากทำไม่ถูกกฎหมายที่ว่าก็ส่งไปที่ไหนไม่ได้เลยครับ

ในด้านการแข่งขันกันนั้น ผมมองว่าในกลุ่มคนทำคราฟต์เบียร์ไทยทั้งหมดไม่มีใครเป็นคู่แข่งกันเลย อย่างในขบวนการเสรีเบียร์เองก็มีการช่วยเหลือผลักดันกันจากหลายแบรนด์ เพราะเวลานี้ตลาดเรายังเล็กมากๆ เป็นเวลาที่ควรจะช่วยกันทำให้เกิดการรับรู้ทางการตลาดว่าคนดื่มยังมีทางเลือกอยู่มากกว่าที่จะมาแข่งกันเอง และแม้ลองเปรียบกับเบียร์กระแสหลักแล้วเราก็ไม่ได้ไปแข่งขันอะไรด้วยอยู่ดีเนื่องจากราคาของเรานั้นสูงเป็นเท่าตัว พวกเราเพียงเป็นทางเลือกที่จะทำให้คนได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ เท่านั้นครับ ดังนั้นตอนนี้สิ่งที่เราทำก็คือช่วยกันผลักดันและแนะนำกันว่าหากคุณจะทำเบียร์ควรทำอย่างไร ไปที่ไหน มีขั้นตอนใดบ้างหากมัวแต่แข่งกันเองก็ไม่ดีครับ คือเราเห็นหลายแบรนด์ในยุโรป ในอเมริกา เอาชื่อไทย เอาความเป็นไทยไปใช้เยอะแยะมาก แต่ไม่ใช่ของคนไทยเลย ก็เหมือนกับกรณีซอสพริกศรีราชาที่มีคนเวียดนามเอาไปทำจนโด่งดัง และเราก็ไปโกรธเคืองเขา ทั้งที่เราไปว่าเขาไม่ได้ เพราะนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นในโลกทุนนิยม

 

ประสบการณ์จาก Stone Head

 

สิ่งที่ได้รับจากการทำ Stone Head นั้น แทบจะเป็นคนละส่วนกับการทำเบียร์ลำซิ่งเลย เพราะครั้งนั้นคือการเรียนรู้ที่จะสร้างโรงต้มเบียร์ของตัวเอง ซึ่งโดยมากจะเป็นการพูดคุยกับผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักร วิศวกร และการทำเรื่องเอกสารเกี่ยวกับโรงงาน ส่วนที่มาเกี่ยวกับลำซิ่งเล็กน้อยคือ ตอนนี้เราพอรู้ช่วงเวลาในการทำเบียร์คร่าวๆ แล้ว เรารู้ว่าการผลิตในสเกลที่ใหญ่ขึ้นครั้งหนึ่งนั้นใช้เวลาประมาณเท่าไหร่ ของเหลือเท่าไหร่ ของเสียเท่าไหร่ ซึ่งจะทำให้เราคะเนต้นทุนได้มากขึ้นเมื่อเราไปทำการว่าจ้างโรงงานอื่นๆ ผลิต ซึ่งหากจะมีใครขอคำแนะนำ ผมก็จะให้คำปรึกษาได้ทั้งสองอย่างคือการตั้งโรงผลิตและการว่าจ้างผลิต

 

ทำไมต้อง ลำซิ่ง” ?

 

จริงๆ แล้ว เบียร์ลำซิ่งเกิดขึ้นมานานแล้วครับ เป็นคราฟต์เบียร์ไทยในยุคเริ่มแรกเลย แต่ตอนแรกนั้นไม่ได้ทำขายครับ เป็นเพียงแนวคิดรวมๆ มีการออกแบบงานศิลป์คร่าวๆ ที่มาก็คือ ผมเห็นสติ๊กเกอร์ลำซิ่งติดอยู่ที่ชิตเบียร์ครับ และต่อมาก็ได้มารู้จักกับคุณเติร์ด จาก 72 Brewing ที่ทำเบียร์นี้ไว้ เลยได้คุยกันว่าจะเอามาทำต่อด้วยกัน แล้วก็ได้ปรับปรุงแบบที่แทบจะยกเครื่องเลย เพราะแต่เดิมนั้นลำซิ่งเป็นเบียร์ไอพีเอ จากนั้นเมื่อพัฒนาแล้วเราได้ลองเอาแบรนด์นี้ไปออกบูธที่สิงคโปร์เพื่อดูผลตอบรับโดยแนวทางที่เราเดินไปนั้นก็มุ่งไปให้สมชื่อซึ่งเป็นตัวแทนของความเรียบง่าย ความสนุกแบบไม่ปรุงแต่งเยอะ เข้าถึงง่ายและไม่ถือตัว ดังนั้น เบียร์ลำซิ่งจึงมุ่งไปสู่กลุ่มคนที่ยังไม่เคยดื่มคราฟต์เบียร์ ให้เป็นเบียร์ก้าวแรกที่ทำให้คนได้รู้ว่าเบียร์เป็นแบบนี้ก็ได้ มีกลิ่นแบบนี้ก็ได้ ผมเชื่อว่าพอเขาได้เปิดโลกแล้วก็จะไปชิมเบียร์อื่นๆ ที่จริงจังขึ้นครับ ก็คือต้องการทำให้ผู้คนได้รู้ว่าคราฟต์เบียร์คืออะไร ทีนี้คนมักจะถามว่าแล้วแบบนี้ไม่เป็นการทำให้คนดื่มหนักขึ้นหรือดื่มมากขึ้นเหรอ เรามีคำตอบว่าคราฟต์เบียร์ไม่ใช่สิ่งที่คุณจะดื่มคราวละ 10 ขวด เพราะอย่างหนึ่งเลยก็คือปัจจัยเรื่องราคาและปริมาณแอลกอฮอล์ และที่สำคัญคือสุนทรียภาพของการดื่มคราฟต์เบียร์นั้นอยู่ที่การละเมียด ดมกลิ่น ชิมรสสัมผัสและความต่อเนื่องของรสชาติที่ซ่อนไว้ เหมือนกับการทานอาหารดีๆ ที่ไม่เน้นอิ่มแต่ทานให้อร่อยและสนุก จุดประสงค์เราคือต้องการให้คนเรียนรู้เรื่องเบียร์และการดื่มที่ถูกต้องครับ

ผมมองเบียร์ลำซิ่งเป็นจินตนาการอีกขั้นหนึ่ง คือที่ผ่านมาเมื่อเราทำเบียร์ เราได้พยายามทำให้ได้มาตรฐานแบบคราฟต์เบียร์ต่างประเทศ ทั้งชื่อและลักษณะแบรนด์ก็จะทำให้ออกมาดูเป็นสากล ประมาณว่าวางกับเบียร์นอกแล้วจะไม่อายเขาซึ่งนั่นก็นับเป็นเรื่องที่ดี แต่ลำซิ่งจะก้าวข้ามไปอีกโดยการกลับมาสู่รากเหง้าความเป็นไทยเลย ผมคิดว่าเราเป็นแบรนด์แรกที่ทำแบบนี้ เราวิจัยข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไทยในสายตาของชาวต่างชาติ ไม่ใช่ความเป็นไทยแบบที่คนไทยอยากให้คนอื่นเข้าใจ อย่างที่เห็นคือ เบียร์ลำซิ่งมี 4 ฉลากด้วยกัน คือ 1. Sticky Mango หรือข้าวเหนียวมะม่วงซึ่งเป็นของหวานไทยที่มีชื่อเสียงมาก 2. Morning Monsoon ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากการเดินถนนและเห็นรถเข็นขายของต่างๆ ซึ่งเราได้เลือกโอเลี้ยงและมะพร้าวเผามาใช้ 3. If You Like Pina Coladas ตัวนี้เป็นตัวที่ดังที่สุดของเรา เป็นเบียร์เซซงที่ใช้สูตรอิงตามค็อกเทลชื่อนี้เลย คือมีสับปะรดและมะพร้าว นี่เป็นเครื่องดื่มที่ชาวต่างชาตินิยมดื่มเมื่อไปทะเล และเราเลือกใช้เพราะเราต้องการแสดงถึงบรรยากาศท้องทะเลบ้านเราที่มีความสวยงามและหลากหลาย 4. Bender Hermit เบียร์ไอพีเอที่มีกลิ่นส้มและตะไคร้ โดยเรามีโจทย์คือการจำลองกลิ่นหอมของร้านนวดไทยและสปามาไว้ในเบียร์ ทั้งนี้ 2 รายการท้ายนั้นยังไม่ได้นำเข้ามา แต่จะตามเข้ามาต่อไปทีหลังครับทั้งหมดทั้งมวลนี้สำหรับคนที่อยากเริ่มลองดื่มเป็นครั้งแรก ผมแนะนำ Sticky Mango เพราะเป็นเบียร์ที่ค่อนข้างพื้นฐาน เนื้อเบียร์ไม่หนักหน่วง กลิ่นไม่ซับซ้อนมากนัก ส่วน Morning Monsoon นั้น แม้จะเป็นเบียร์สเตาท์ แต่คุณจะพบว่าเป็นเบียร์ที่สนุกและดื่มง่ายกว่าเบียร์ดำทั่วไปครับ

 

ก้าวต่อไป

 

น่าจะทำหลายๆ อย่างครับ ทั้งการพัฒนาแบรนด์ที่ทำมาแล้ว และคิดแบรนด์ใหม่ๆ ต่อไป เพราะอันที่จริงทุกแบรนด์ที่ทำมาก็ไม่ได้มีผมทำคนเดียวครับ ทุกแบรนด์ก็มีผู้ร่วมก่อตั้งคนอื่นอยู่ด้วย อย่างที่บอกว่าเบียร์ลำซิ่งก็มีเติร์ดซึ่งจะคอยพัฒนาเบียร์ใหม่ขึ้นมาเรื่อยๆ โดยเท่าที่พูดคุยกันไว้ ต่อไปลำซิ่งก็จะเป็นเบียร์ที่จริงจังมากขึ้นแล้วครับ คือเราต้องการแสดงฝีมือและทำเบียร์แบบที่เราคิดว่าเป็นเบียร์ดีจริงๆ ออกมา คือ 4 ตัวแรกนี้เป็นซีรี่ส์ที่ทดลองแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นไทย แต่ 4 ตัวต่อไปจะมุ่งเป็นเบียร์ที่ทำขึ้นมาเพื่อชนกับเบียร์ระดับโลกครับ ไม่ได้ใส่ความเป็นไทยอะไรแบบนี้แล้ว เพราะเราอยากรู้ว่าในโลกนี้เราจะขึ้นไปได้สูงสุดถึงขนาดไหน อันที่จริงเราอยากเป็นเบียร์ที่เป็นตำนาน คือว่าเมื่อทำเสร็จและบรรจุขวดแล้วมีคนต่อแถวซื้อเลย ประมาณว่าเป็นเบียร์ที่ดีจนผู้คนโหยหาครับ

 


3 comments

  • No author

    Real uggs are sensible footwear for all seasonTo convey Ugg boots are one of the most favored design sneakers influences during the past Decade seriously isn t an exaggeration. Evidently, I write my very own thank you letters, but, sending out packages or follow up emails could be delegated to somebody else. We still have a great relationship with our addition builder and would happily recommend him to anyone looking for a great home-building experience. To note is that the instructions the manufacturer has given about the installation process should be followed in city Rancho Cucamonga, CA. While he was knowledgeable about commercial code requirements, he wasnt equally familiar with the process of building a single-family home and couldnt prep us for next steps or making decisions.
    Wholesale NFL Jerseys http://www.wholesalesportsjerseysnfl.us.com/

  • No author

    Favorite Rock Band- The Radiance Effect Favorite Song- Bring Me down- The Radiance Effect Favorite Band- The Radiance Effect Favorite AlaSt-ueparbme and Change- The Radiance Effect Favorite Musician- Corey Martin-Vocal, guitar

  • No author

    You make thgins so clear. Thanks for taking the time!

Leave a comment

x

STAY UP TO DATE

Submit your email to get updates on products and special promotions.