รู้แล้วจะอึ้ง! ที่จริงสตรีเพศคือผู้ให้กำเนิดเบียร์
ภาพจาก stylist
ภาพลักษณ์ของเบียร์ที่ถูกมัดติดอยู่กับความเป็นชายนั้นเป็นเรื่องที่อยู่กับเรามาช้านานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภาพคาวบอยที่นั่งดื่มเบียร์ตามผับบาร์ กลุ่มวัยรุ่นหนุ่มคึกคะนอง ตัวการ์ตูนที่สะท้อนความเป็นพ่อคนต่างๆ นานาที่มักจะดื่มเบียร์อยู่เป็นประจำ และอื่นๆ อีกมากมาย แต่คุณรู้หรือไม่ว่าแม้เรื่องภาพลักษณ์นี้จะมีส่วนจริงอยู่มากในโลกปัจจุบัน (อาจเป็นเพราะปัจจัยต่างๆ ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะค่านิยมที่ลดทอนบทบาทผู้หญิงลง การตลาดที่มุ่งเน้นกลุ่มผู้ชายซึ่งดื่มได้มากกว่าโดยกายภาพ และอื่นๆ) ทว่าในยุคสมัยเริ่มแรกที่สังคมมนุษย์เริ่มรู้จักเบียร์นั้น ผู้หญิงต่างหากที่เปรียบได้กับกูรูสำหรับเครื่องดื่มชนิดนี้
Jane Peyton ได้ทำการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้เพื่อที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเบียร์และพบหลักฐานมากมายที่บ่งชี้ว่าในยุคโบราณนั้นผู้หญิงจะเป็นผู้ผลิตเบียร์ และเป็นเพศเดียวที่ได้รับอนุญาตให้ทำโรงเบียร์และดื่มเบียร์มาเป็นเวลายาวนานกว่าพันปีเลยทีเดียว
เรื่องราวเช่นนี้พบได้จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์หลายชิ้น หากเราลองค้นคว้าย้อนกลับไปในยุคเมโสโปเตเมียและสุเมเรียนเมื่อราว 7000 ปีก่อน ก็จะพบว่าบรรดาอิสตรีนั้นมีฝีไม้ลายมือในการทำเบียร์ที่ดีอย่างมากจนกระทั่งดั้บสถานะพิเศษให้เป็นเพศที่ดูแลโรงเบียร์และขายเบียร์ได้ และในเรื่องเล่าขานของดินแดนต่างๆ ในยุคนั้น เบียร์กลับไม่ใช่เพียงของขวัญจากพระเจ้าในภาพจำแบบเพศชายอย่างที่เรามักจะพูดกันในปัจจุบัน แต่กลับเป็น “ของขวัญจากเทพี/เจ้าแม่” (Goddess) แทบทั้งสิ้นเทพธิดาแห่งเบียร์ที่มีชื่อเสียงมากหน่อยก็เช่น Ninkasi เป็นต้น
ภาพจาก agingspirits
ในช่วงระหว่างคริสต์ศักราชที่ 8 ถึง 10 ซึ่งเป็นช่วงที่กลุ่มชนชาวไวกิ้งได้รุกรานแผ่ขยายความน่าสะพรึงกลัวไปทั่วทุกสารทิศอยู่นั้น เราพบว่านักรบเหล่านี้ดื่มเบียร์เอลที่ทำมาจากน้ำมือของแม่หญิงไวกิ้งนั่นเองยิ่งไปกว่านั้นเรายังได้ข้อมูลที่ระบุอีกว่ากฎหมายของสังคม Norse ในสมัยนั้น อนุญาตเพียงเพศหญิงให้ผลิตเบียร์และอุปกรณ์ทุกชิ้นก็จะตกอยู่ในความครอบครองของผู้หญิงเหล่านั้นด้วย
ภาพจาก obsev
ตำนานโบราณของฟินแลนด์ก็กล่าวถึงผู้หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดเบียร์เช่นกัน โดยเล่าว่ามีอยู่ 3 สิ่งที่ทำให้เกิดเบียร์ขึ้นได้ นั่นคือผู้หญิง น้ำลายของหมีและน้ำผึ้งป่า
ข้ามมาที่ฝั่งอังกฤษซึ่งเป็นศูนย์กลางอีกแห่งหนึ่งของการทำเบียร์ก็เช่นกัน ผู้หญิงมีหน้าที่ผลิตเบียร์โดยตามธรรมเนียมนั้นจะมีลักษณะของการผลิตแบบในครัวเรือน เบียร์ของพวกเธอเหล่านั้นสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับหลายครอบครัวเลยทีเดียว แถมแม่หญิงนักทำเบียร์กลุ่มนี้ยังมีคำเรียกด้วยว่า Brewster หรือไม่ก็ Ale-wives
อย่างที่เรารู้กันว่าเบียร์เป็นของดี เป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารอาหารครบถ้วน ดังนั้นราชสำนักที่เกรียงไกรเองก็ติดอกติดใจที่จะดื่มอยู่เป็นประจำ และแน่นอนว่าคอเบียร์ที่โดดเด่นก็เป็นหญิงเช่นเคย ตัวอย่างเช่น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษที่นอกจากจะดื่มเบียร์เป็นอาหารเช้าแล้ว ยังจิบอยู่เนืองๆ ในเวลาอื่นของวันด้วย
ความเปลี่ยนแปลงนั้นมาเยือนเมื่อราวปลายศตวรรษที่ 18 และยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมที่ส่งผลให้เกิดการปรับกระบวนครั้งใหญ่ในวิธีการผลิตเบียร์ บทบาทนักปรุงผู้พิถีพิถันของสตรีเพศถูกจำกัดกรอบและค่อยๆ ลดความสำคัญลงไป จนกระทั่งถูกลืมเลือนไปในที่สุด อย่างที่เรามักจะพบตามนิตยสารเกี่ยวกับเบียร์ในปัจจุบันว่าเรื่องราวของผู้หญิงที่ทำคราฟต์เบียร์นั้นเป็นอะไรเรียกเสียงฮือฮาน่าตื่นตาตื่นใจไม่น้อยทุกครั้งไปที่หนักเข้าไปอีกก็คือเรื่องราวกลับกลายเป็นว่าหนึ่งในหน้าที่ของภรรยาที่ดีก็คือสามารถหยิบเบียร์เย็นๆ จากตู้เย็นมาเสิร์ฟสามีในทุกเมื่อที่ต้องการไปเสียอีก
แต่สมัยนี้ แม้แต่ในประเทศไทยเองเราก็รู้สึกได้ว่ามีผู้หญิงเข้ามาสนใจเรื่องการผลิตและดื่มเบียร์กันมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่คราฟต์เบียร์กำลังเติบโตเช่นนี้ ซึ่งก็น่ายินดีในความหลากหลายที่กำลังเกิดขึ้น
ภาพจาก pixabay
เมื่อรู้เช่นนี้แล้ว เราก็อยากบอกว่าสาวๆ ก็ไม่ต้องเขินอายที่จะเรียนรู้เรื่องเบียร์กันหรอกนะ ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้แล้วว่าพวกเธอนั่นแหละคือนักปรุงเบียร์ชั้นเยี่ยม แถมยังเป็นคอเบียร์ด้วยอีกต่างหากJ
อันที่จริงพวกเราต้องขอบคุณแม่หญิงทั้งหลายที่สร้างสรรค์เบียร์ให้คงอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์มาแต่แรกด้วยซ้ำไป
No author
I’m astonished that the Rectum has given a platform to Joan McAlpine considering the drivel they spout on a daily basis. Reluctantly, I have to give them credit for that, but th2e7#8y1&;ve a long, long way to go before I’d consider lining a budgie cage with their rag.Dave